การเปิดรับการสื่อสาร ความคิดเห็นต่อการสื่อสาร และความตั้งใจในการบริจาคให้ศิริราชมูลนิธิ ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ความคิดเห็นต่อการสื่อสาร และความตั้งใจในการบริจาคให้ศิริราชมูลนิธิ ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ความคิดเห็น และความตั้งใจของผู้บริจาคศิริราชมูลนิธิ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่เคยบริจาคให้กับศิริราชมูลนิธิ จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยการเปิดรับสื่อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับสื่อของศิริราชมูลนิธิ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีการเปิดรับสื่อประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อกลางแจ้งมากที่สุด รองลงมาประเภทสื่อบุคคล และประเภทสื่อออนไลน์ ผลการวิจัยด้านความคิดเห็นต่อการสื่อสาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการสื่อสารของศิริราชมูลนิธิ โดยรวมอยู่ในระดับเชิงบวก ความคิดเห็นต่อช่องทางการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกลางแจ้ง และสื่อออนไลน์ และความคิดเห็นต่อสาร ได้แก่ ด้านคุณภาพเนื้อหาข้อมูลข่าวสาร และด้านเป้าหมายการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจในการบริจาคให้กับศิริราชมูลนิธิ โดยรวมมีความตั้งใจอยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่วางแผนการบริจาคเป็นประจำต่อเนื่องแน่นอน รองลงมาการพิจารณาเพิ่มยอดเงินบริจาคให้มากขึ้น และวางแผนที่จะบริจาคให้มูลนิธิภายในเวลา 1 เดือนข้างหน้า ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับการสื่อสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความคิดเห็นของผู้บริจาคศิริราชมูลนิธิ กล่าวคือผู้บริจาคที่มีการเปิดรับการสื่อสารมากจะมีความคิดเห็นต่อการสื่อสารมาก ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจบริจาคของผู้บริจาคศิริราชมูลนิธิ กล่าวคือผู้บริจาคที่มีความคิดเห็นต่อการสื่อสารมากจะมีความตั้งใจบริจาคมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กิติมา สุรสนธิ. (2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2564). ข้อมูลทั่วไปของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/
ชัยวัฒน์ ศุภศิลป์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริจาคให้ศิริราชมูลนิธิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศิริราชมูลนิธิ. (2563). 50 ปี ศิริราชมูลนิธิ เพื่อผู้ช่วยด้อยโอกาส. กรุงเทพฯ : เวิร์ดเพลย์ คอมมิวนิเคชั่นส์.
ศิริราชมูลนิธิ. (2564). ข้อมูลทั่วไปของศิริราชมูลนิธิ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564, จากhttps://www.si.mahidol.ac.th/office_m/foundation/
สรชา รุจิรงค์นางกูล. (2559). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ และความตั้งใจบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตในอาสาสมัครของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
ภาษาต่างประเทศ
Cochran, W. G. (1977) . Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.
Lazarsfeld, P.F., & Menzel, H. (1968). Mass media and personal influence. The Science of Human Communication. New York: The Basic Book.
Rogers, C.R. (1969). Freedom to learn. Columbus : Charles E. Merrill Publishing Co.