การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ลงทะเบียนสำเร็จและได้ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งจากเฟส 1 และ เฟส 2 จำนวน 300 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 28-35 ปี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ 15,001 – 30,000 บาทการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับโครงการคนละครึ่ง เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ด้านสื่อมวลชน คือ โทรทัศน์ ด้านสื่อบุคคล คือ จากเพื่อนและคนรู้จัก ด้านสื่อใหม่ คือ จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) เช่น Facebook , Line และ ด้านสื่อกิจกรรม คือ การลงพื้นที่ตลาดให้ความรู้ มีการเปิดรับประเภทข่าวสารในเรื่องวิธีการลงทะเบียนมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ที่มีต่อโครงการคนละครึ่งในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติต่อโครงการคนละครึ่งในเชิงบวก และมีแนวโน้มพฤติกรรมที่จะเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งในระดับตั้งใจมาก พร้อมกันนี้ยังพบว่า การเปิดรับสื่อจากโครงการคนละครึ่งมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับความรู้จากโครงการคนละครึ่ง คือ เมื่อการเปิดรับสื่อโครงการคนละครึ่งเพิ่มขึ้นความรู้เกี่ยวกับโครงการคนละครึ่งของประชาชนจะลดลง โดยเฉพาะในด้านสื่อมวลชน แต่ในด้านสื่อบุคคล สื่อกิจกรรมมีความสัมพันธ์กับความรู้ในระดับที่สูง ทั้งนี้สำหรับการเปิดรับสื่อจากโครงการคนละครึ่งมีความสัมพันธ์กับทัศนคติจากโครงการคนละครึ่ง อย่างไรก็ตามในด้านความรู้เกี่ยวกับโครงการคนละครึ่งมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับทัศนคติจากโครงการคนละครึ่ง คือ เมื่อความรู้เกี่ยวกับโครงการคนละครึ่งของประชาชนเพิ่มขึ้นทัศนคติโดยรวมที่มีต่อโครงการคนละครึ่งจะลดลง และทัศนคติเกี่ยวกับโครงการคนละครึ่งมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมต่อโครงการคนละครึ่ง โดยความสัมพันธ์มีค่าเป็นบวก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ :การวัด การเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ, และ บุณฑริก ศิริกิจจาขจร. (2553). ทัศนคติและพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาตรี คณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.BU วารสารACADEMIC REVIEW, 9(ฉบับพิเศษ), 55-63.
อมรศักดิ์ กิจธนานันท์. (2552). นโยบายสาธารณะ.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภาษาต่างประเทศ
Anderson, J. E. (1975). Public policy-making. New York: Praeger.
Burnett, R. & David P. M. (2003). Web Theory. London: Routlege.
Katz,E.,and Lazarsfeld,P.E.(1995).Personal influence:The part played by people in the flow of mass communication.Glencoe,IL:Free Press.
Thurstone, L. L. (1967). Attitudes can be measured. In M. Fishbein (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: John Wiley & Sons
Triandis, H. C. (1971). Attitude and Attitude Change (Foundations of Social Psychology). Hoboken, NJ: John Wileys & Sons Inc.