กระบวนการโฆษณาออนไลน์ในเฟซบุ๊ก : กรณีศึกษาเพจหนังฝังมุก

Main Article Content

NATWIPA SINAUWARN

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการโฆษณาออนไลน์ในเฟซบุ๊กของเพจหนังฝังมุก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกเจ้าของเพจและแอดมินเพจของเฟซบุ๊กหนังฝังมุก ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการการโฆษณาออนไลน์ในเฟซบุ๊กของเพจหนังฝังมุกมี 7 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การชี้แจงอัตราการโฆษณาผ่านเรตการ์ด (Rate  Card) ได้แก่ ตัวอย่างโฆษณา งบประมาณค่าโฆษณา ประเภทงานโฆษณา วันและเวลาลงโฆษณา (2) การรับบรีฟโฆษณาจากลูกค้า ได้แก่ ข้อมูลสินค้า เนื้อหาที่ให้โฆษณา ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือตราสินค้า และการทำสัญญา (3) การสร้างสรรค์โฆษณา ได้แก่ ร่างไอเดียโฆษณาและข้อมูลสร้างสรรค์โฆษณาที่ลูกค้าอนุมัติ (4) การผลิตโฆษณา ได้แก่ ขั้นตอนก่อนการผลิตโฆษณา ขั้นตอนการผลิตโฆษณา และขั้นตอนหลังการผลิตโฆษณา (5) การส่งชิ้นงานโฆษณาเพื่ออนุมัติรอบสุดท้าย ลูกค้าสามารถแก้ไขงานภายใต้ข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา (6) การลงเพจ ได้แก่ การกำหนดวันและเวลาในการลงโฆษณาในเพจเฟซบุ๊ก (7) การประเมินผล ได้แก่ การประเมินจากการมีส่วนร่วม เช่น จำนวนไลก์ แชร์ การแสดงความคิดเห็น และการประเมินตามระยะเวลา คือ การประเมินประจำสัปดาห์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กรุงเทพธุรกิจ. เปิดสถิติคนไทยเสพติด 'ออนไลน์ โซเชียล' สูงติดอันดับโลก, สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/950958.

ณัฐวิภา สินสุวรรณ. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารผ่านส่วนผสมทางการตลาดบนสื่อออนไลน์ของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(43): 171-195.

ณัฐวิภา สินสุวรรณ. (2564). หลักการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยราชมงคลธัญบุรี

ณัฐา ฉางชูโต. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธีรชัย ศิริสัมพันธ์. (2553). การสร้างสรรค์งานโฆษณา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วฒนพงษ์ นิ่มสุวรรณและวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2556). แนวคิดการใช้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊ค และทัศนคติ แรงจูงใจ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกดปุ่ม “ถูกใจ” ให้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบน เฟซบุ๊คของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี Suranaree Journal of Social Science, 7(1): 37-67.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4): 99-103.

พิทักษ์ ชูมงคล. (2561). หน่วย 12 การสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหา ในหน่วยชุดวิชา 16353 หลักการสื่อสารการตลาด หน่วยที่ 11-15 (น.1-70). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิเศศ ตันติมาลา. (2561). หน่วย 11 การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ในหน่วยชุดวิชา 16353 หลักการสื่อสารการตลาด หน่วยที่ 11-15 (น.1-81). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-Commerce และ Online Marketing. กรุงเทพมหานคร: โปรวิชั่น.

ศุภลักษณ์ เลาทองดี. (2546). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อสื่อโฆษณาออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์. (2561). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อดึงดูดผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(1): 21-36.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: วิสิทธิ์พัฒนา.

Marketeeronline. (2564). โลกโซเชียลมีเดียของคนไทย ในปี 2564 ที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาด. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ.2564, จาก https://marketeeronline.co/archives/209273

ภาษาต่างประเทศ

Belch, G. E., and Belch, M. A. (2009). Advertising and promotion: an integrated marketing communication perspective. New York: McGraw-Hill.

O’Guinn,T., Allen, C., & Semenik, R. (2009). Advertising and integrated brand promotion. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.