พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ และกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) ของ Generation Y

Main Article Content

กิริยา ปภาภูติวัฒน์
กัลยกร วรกุลลัฏฐานีย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ และกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) ของ Generation Y ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บข้อมูล ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพียงครั้งเดียว (Cross Sectional Study) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา Generation Y ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) จำนวน 300 คน เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า Generation Y ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) เปิดรับสื่อออนไลน์ประเภท Owned Media ในระดับบ่อยที่สุด (4.22) และมีกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) ด้านการแสวงหาข้อมูลในระดับสำคัญมากที่สุด (4.36) สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ในภาพรวม ของ Generation Y และกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) พบว่ามีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อ 2 ด้านคือ ด้านการแสวงหาข้อมูล (r = 0.156) และด้านการตัดสินใจซื้อ (r = 0.135) เมื่อแยกประเภทสื่อออนไลน์พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ (Paid Media) ของ Generation Y และกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อด้านการแสวงหาความรู้ (r = 0.128) สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ (Owned media) ของGeneration Y  และกระบวนการตัดสินใจซื้อ พบว่ามีความสัมพันธ์กับการแสวงหาข้อมูล (r = 0.170) การตัดสินใจซื้อ (r = 0.155) และพฤติกรรมภายหลังการซื้อ  (r = 0.121)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กาญจนา แก้วเทพ.(2545). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3).โอเดียนสโตร์.

กระทรวงสาธารณสุข. (2556).โพรไบโอติก-จุลินทรีย์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ.https://thaicam.go.th/wp-content/uploads/2019/09/โพรไบโอติก-จุลินทรีย์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ-1.pdf

กรุงเทพธุรกิจ (2561).ชี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังเติบโตได้ แต่ต้องรักษามาตรฐานคุณภาพต่อเนื่อง. https://www.bangkokbiznews.com/business/801519

กรุงเทพธุรกิจ. (2564).โภชนเภสัช' มาแรงรับเทรนด์สุขภาพ.https://www.bangkokbiznews.com/social/922722

กรมสุขภาพจิต. (2563). Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก.https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1251

โครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหาร.(2563).กลยุทธ์การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการสมวัย. https://www.oie.go.th/assets/portals/1/files/study_report/Healthyfood_Strategy.pdf

ณัฐพงษ์ ชุมภู และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และการบอกต่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ วารสารการสื่อสารและการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 4(3), 30-46.

ประชาชาติธุรกิจ.(2565).เปิดสถิติ พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต-โซเชียลมีเดียยอดนิยมตลอดปี 2021.สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/ict/news-855712

ธีราพร ใจหนัก. (2550). การเปิดรับและทัศนคติของนักเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อโครงการ DNA (Drink no alcohol) สายพันธุ์ใหม่ไร้แอลกอฮอล์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วงศ์เดือน หุ่นทอง (2551).ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วิชญ์ชยา ฐิติจิรวิชญ์. (2560). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ.(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.(2541) การบริหารการตลาดยุคใหม่.บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์,ศุภร เสรีรัตน์และองอาจ ปทะวานิช.(2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.

สิริชัย วงษ์สาธิตศาสตร์. (2549) สื่อออนไลน์ช่องทางใหม่ในการายงานข่าวของสื่อมวลชนไทย. วารสารรามคำแหง. 23(1), 44-50.

สุภัจฉรา นพจินดา. (2557). โพรไบโอติกส์กับการส่งเสริมสุขภาพ.https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/31311/26909

สื่อมัลติมิเดียกรมอนามัย (2565). กรมอนามัย แนะผู้ป่วยลองโควิด-19 เน้นกินโปรตีน-โพรไบโอติกส์ – วิตามินช่วยฟื้นฟูร่างกาย. https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/160265/

อุบลรัตน์ ชมรัตน์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพชนิดแคปซูลของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เอวินันท์ สะอาดดี. (2559). ทัศนคติและความสนใจที่มีต่อการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของผู้สูงวัยผ่าน Mobile Application. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Beauty Cosmet (2564).สถิติธุรกิจขายส่งอาหารเสริม และตัวแทน ปี 2021. https://www.beautycosmet.com/cream-supplements/wholesale-business-statistics-2021/

Brandbuffet. (2563). เผย Insight “พฤติกรรมคนไทย” 4 เจเนอเรชั่นที่เปลี่ยนไปจากโควิด-19 ที่แบรนด์ต้องรู้เพื่อปรับกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ https://www.brandbuffet.in.th/2020/09/far-east-fame-line-ddb-the-wall-v2020-insight-four-generation-during-pandemic/

Content Shifu (2563), Paid, Owned, Earned Media คืออะไร ทำไมเราต้องรู้จัก แล้วจะบริหารยังไงให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด. https://contentshifu.com/blog/paid-owned-earned-media

Marketing Oops! (2559).เต็ดตรา แพ้ค เผยพฤติกรรม Generation Y เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม. https://www.marketingoops.com/reports/research/tetra-pak-research-millennials/

Medthai (2563). โพรไบโอติก (Probiotic) ตัวช่วยเรื่องดูแลสุขภาพสำหรับคนยุคใหม่! https://medthai.com/Probiotic/

ภาษาต่างประเทศ

Atkin, K. (1973). Utilities and information seeking in new model of mass communication research. Beverly Hill: Sage.

Kotler, P. (2012). Marketing management (The Millennium edition). Upper Saddle River. Pearson Prentice Hall.