ประสิทธิผลของการรณรงค์โฆษณา “ย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรรมการใช้บริการ การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการที่มีต่อการรณรงค์โฆษณา “ย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS” ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออื่น ที่ไม่ได้ใช้เครือข่าย AIS ในปัจจุบัน และเคยเห็นโฆษณาย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS จำนวน 300 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 24-35 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน 10,001–30,000 บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการเครือข่าย TrueMove H และ DTAC ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ใช้บริการเครือข่ายเป็นเวลา 6-10 ปี ส่วนใหญ่เคยย้ายค่าย เนื่องจากบริการไม่ดี และเหตุผลที่ใช้เครือข่ายปัจจุบันเนื่องจากโปรโมชันน่าสนใจ ในด้านการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการรณรงค์โฆษณา “ย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS” พบว่า ส่วนใหญ่เปิดรับโฆษณาจากสื่อดั้งเดิมมากกว่าสื่อออนไลน์ โดยสื่อดั้งเดิมที่เปิดรับมากที่สุด คือ สื่อโฆษณานอกอาคาร (บิลบอร์ดบนทางด่วน) ทั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่มีทัศนคติโดยรวมในระดับดีต่อการรณรงค์โฆษณา “ย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS” กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อการรณรงค์โฆษณา “ย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS” ในระดับตั้งใจมาก นอกจากนี้ยังพบว่าการเปิดรับโดยรวม จากสื่อดั้งเดิมและสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อการรณรงค์โฆษณา “ย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS” โดยรวม และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรณรงค์โฆษณา“ย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS”
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
ฉลอง ภิรมย์รัตน์. (2521). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์.
ประชาชาติธุรกิจ . (2564). “#อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด ชาวเน็ตแชร์ความทรงจำ หลัง AIS ขอบคุณลูกค้า” . สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2565, จาก https://www.prachachat.net/breaking-news/news-807507
ปาริฉัตร สมสวัสดิ์ . (2560) . การเปิดรับสื่อ ทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาด และแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อ Diamond Grains ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร . (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน , สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.
สมควร กวียะ. (2540). สื่อมวลชนดลชีวิต. นนทบุรี: บริษัทออฟเซท เพรส จำกัด.