ความคาดหวัง และความพึงพอใจที่มีต่อเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรของชาวสวนทุเรียนในจังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับเพจ ความคาดหวังประโยชน์ ความพึงพอใจ และแนวโน้มการเปิดรับเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังประโยชน์กับการเปิดรับเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรกับความพึงพอใจ และ 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับแนวโน้มการเปิดรับเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร เก็บข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 300 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และเป็นชาวสวนผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดชุมพรที่ติดตามเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ผ่านการเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยเทคนิควิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังประโยชน์ต่อเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรในระดับมากที่สุด (4.35) โดยมีความคาดหวังมากที่สุดในด้านเพื่อการตัดสินใจ (Decision) ในประเด็น ท่านคาดหวังข่าวสารเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจพัฒนาการเพาะปลูกทุเรียนให้มีคุณภาพ และได้ผลผลิตมากที่สุดในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรในระดับมากที่สุด (4.36) โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านเพื่อการตัดสินใจ (Decision) ในประเด็น ท่านพึงพอใจที่ได้รับข่าวสารในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาโรคระบาดของศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในต้นทุเรียนในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคาดหวังประโยชน์ในภาพรวมของชาวสวนทุเรียนในจังหวัดชุมพรไม่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร การเปิดรับเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพรวมของชาวสวนทุเรียนในจังหวัดชุมพร และความพึงพอใจในภาพรวมของชาวสวนทุเรียนในจังหวัดชุมพรมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการเปิดรับเพจสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กรมประชาสัมพันธ์. (2564). จังหวัดชุมพรออกมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน. https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG210617152118269
กองนโยบายสร้างความเข้มแข็งทางการค้า. (2563). ทุเรียนราชาแห่งผลไม้ไทยถูกใจคนต่างแดน. http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf
จุฑาทิพย์ อัครวิเชียร. (2542) ทักษะการสื่อสาร ความคาดหวัง และการใช้ประโยชน์ของผู้ฟังจากการฟัง รายการเนชั่น จูเนียร์ อินเทอร์แอ็คทีฟ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=
ณัฐนรี ไชยภักดี. (2552). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการ 7 สีปันรักให้โลก ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน กระบวนการ และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2562). จีนจ่อตรวจเข้ม”ทุเรียนไทย” หวั่นกระทบส่งออก2หมื่นล้าน. https://www.prachachat.net/economy/news-288639
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ส่งออกทุเรียนไทยพุ่งทุบสถิติ ตลาดจีนยังคงมาแรง. https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Durian-export.aspx
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด ชุมพร. https://provinfo.opsmoac.go.th/?p=economy
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 1.) โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Thailandplus. (2563). เกษตรฯ หนุนชาวสวนทุเรียนผนึกกำลังสร้างเครือข่าย มุ่งเน้นคุณภาพเตรียมจัดงาน “Durian to Go by สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก” พัฒนาทุเรียนไทย ก้าวไกลสู่สากล” 27 – 29 ก.พ.นี้ ณ อบจ.จันทบุรี. https://www.thailandplus.tv/archives/125692
ภาษาต่างประเทศ
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. Free Press.
McCombs, M. E. & Becker, L. B. (1979). Using mass communication theory. Prentice Hall.
Palmgreen, P. & Rayburn, J. D. (1982). Gratifications sought and media exposure: an expectancy-value model. Communication Research, 9, 561-580.
Palmgreen, P. (1984). Uses and gratifications: A theoretical perspective, Annals of the International Communication Association, 8:1, 20-55.