การเปิดรับสื่อ การรับรู้คุณค่าตราสินค้าและแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภค เครื่องดื่มแบรนด์ KAMU TEA
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การเปิดรับสื่อ การรับรู้คุณค่าตราสินค้าและแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่ม
แบรนด์ KAMU TEA” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ การรับรู้คุณค่าตราสินค้าและแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแบรนด์ KAMU TEA การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง และมีรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001 - 20,000 บาท ในด้านการเปิดรับสื่อของผู้บริโภค พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับสื่อจากสื่อออฟไลน์ (ค่าเฉลี่ย 3.60) มากกว่าสื่อออนไลน์ (ค่าเฉลี่ย 2.73) โดยสื่อออฟไลน์ที่เปิดรับมากที่สุด คือ สื่อ ณ จุดขาย เช่น ป้ายโฆษณาโปรโมชั่นเครื่องดื่มแบรนด์ KAMU TEA ที่ร้าน มีการเปิดรับสื่อในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.83) มีการรับรู้คุณค่าตราสินค้าเกี่ยวกับเครื่องดื่มแบรนด์ KAMU TEA ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.70) และมีแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคอยู่ในระดับตั้งใจมาก (ค่าเฉลี่ย 3.63) ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า การเปิดรับสื่อโดยรวม การเปิดรับสื่อจากสื่อออฟไลน์และการเปิดรับสื่อจากสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าโดยรวมของผู้บริโภค โดยความสัมพันธ์มีค่าเป็นบวก ทั้งนี้มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.474***) การรับรู้คุณค่าตราสินค้าโดยรวมมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแบรนด์ KAMU TEA โดยความสัมพันธ์มีค่าเป็นบวก ทั้งนี้ความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (r = .822***)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
นที บุญพราหมณ์. (2546). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. http:www.rilp.ac.th.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อโฆษณา Advertising media สาขาวิชานิเทศศาสตร์. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) (พิมพ์ครั้งที่ 2). จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.
วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ และคณะ. (2559). Re:digital การตลาดยุคใหม่ เจาะใจลูกค้า. โปวิชั่น.
เสรีวงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการตลาด. ธรรมสาร.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Brand Management. เลิฟ แอนด์ลิฟ.
Marketthink. (2020). KAMU ร้านชาสัญชาติไทย ที่รายได้โตระเบิดถึง 163%.https://www.marketthink.co/9483
Pimboon suwannarin. (2020). ทำความรู้จักกับ “ชา” ในประเทศไทย. https://bymsorganics.com/blogs/health-lifestyle
Smeone. (2020). คามุ คามุ นวัตกรรมความสุข ผ่านเครื่องดื่มประเภทชาคุณภาพเกิน 100. https://www.smeone.info/posts/view/4487
ภาษาต่างประเทศ
Aaker, D. A. (1996). Building strong brand. New York: Free Press.
Atkin, Charles K. (1973). Anticipated communication and Mass Media Information Seeking. New York: Free Press.
Bloemer, J., & de Ruyter, K. (1998). On the relationship between store image, store satisfaction and brand equity scale. A Review of Recent Theory and Applications, 10(1), 443- 454.
Kirmani, A, & Zeithaml, V. A. (1993). Advertising, perceived quality and brand image.
In D.A. Aaker & A. Biel (Eds.), Brand Equity and Advertising (pp. 143-162). Hillsdale, Lawrence Erlbaum Associates.
Klapper, J.T. (1960). The Effects of Mass Communication Free Press. Prentice Hall.
Vantamay, S. (2007). Understanding of perceived product quality: Reviews and recommendations. BU Academic Review, 6(1), 110-117.