กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีและพฤติกรรมการแสดงออก ทางการเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีและพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมือง” ในครั้งนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติต่อการเมืองในช่วงปี 2563 ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมือง โดยช่วงการเมืองปี 2563 จะเห็นได้ว่ากลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหลาย ๆ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือการะดมทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรม การร่วมกันรณรงค์ไม่สนับสนุนการทำป้ายวันเกิดศิลปินตามสถานีรถไฟหรือ การใช้แอคเคาท์หลักในการติดตามศิลปินอย่างแอคเคาท์ บ้านเบส (Fanbase Account) ในการกระจายต่อข่าวสารที่เกี่ยวกับการเมือง ทำให้เห็นว่าทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีนั้นมีความน่าสนใจ โดยในการวิจัยครั้งใช้รูปแบบการิจัยแบบ วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ซึ่งกลุ่มเป็นคลับศิลปินเกาหลีในประเทศไทย ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในช่วงปี 2563 โดยกระจายแบบสอบถามบนสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล ในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2564 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีมีทัศนคติต่อการเมืองในช่วงปี 2563 สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความเสมอภาค โดยช่องทางการเปิดรับข่าวเกี่ยวกับการเมืองที่พวกเปิดรับมากที่สุดคือช่องทางทวิตเตอร์ผ่าน แอคเคาท์ FreeYouth (@FreeYOUTHth) ซึ่งเป็นแอคเคาท์ที่เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมทางการเมืองหลายครั้งและได้รับความเชื่อถือจากลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีที่มีทัศนติต่อการเมืองในทุก ๆ ด้านสูงจะยิ่งส่งผลต่อการเปิดพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองที่บ่อยครั้ง โดยรูปแบบการแสดงออกทางเมืองที่พวกเขาแสดงออกบ่อยที่สุดคือการแชร์ต่อข่าวสารทางการเมืองผ่านช่องทางบนสื่อออนไลน์ของพวกเขาเอง อีกทั้งยังมีการใช้พื้นที่สื่อหลักของกลุ่มแฟนคลับอย่าง Fan base Account ในการแชร์ต่อข่าวสารเพื่อให้เข้าถึงผู้ติดตามในวงกว้างอีกด้วย ถึงแม้ในงานวิจัยครั้งนี้จะไม่พบความสัมพันธ์ของทัศนคติต่อการเมืองกับแนวโน้มพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองอย่างมีนัยะสำคัญ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ทำให้แผนการดำเนินกิจกรรมไม่มีความแน่นอน ทำให้ไม่เกิดแนวโน้มการเกิดพฤติกรรมทางการเมืองในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยยังคงชี้ชัดว่ากลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีมีความตั้งใจจะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในอนาคตอยู่ที่ระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนให้เกิดการเลือกตั้งใหม่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์.(2563).การตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์
จําลอง พรมสวัสดิ์ . (2554). พฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลชวงพุทธศักราช 2551-2553. สืบค้น 14 มกราคม 2564 , จาก https://mis.krirk.ac.th/librarytext/PCC/2554/F_Chamlong_%20Promsawad.pdf
ชชิรานนท์ ทองเทพ. (2020). ประชาชนปลดแอก: กระแสความนิยมหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เกี่ยวพันอย่างไรกับการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย. สืบค้น 11 มกราคม 2564 , จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53970497
ชนกานต์ รักชาติ และ พัชนี เชยจรรยา. (2559). วิธีการสื่อสารและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ไชวัฒน์ ค้ำชู และ นิธิ เนื่องจำนงค์. (2559). การเมืองเปรียบเทียบ ทฤษฎี แนวคิดและกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณิชชา ยงกิจเจริญ. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรม ที่มีต่อศิลปินวง EXO ของกลุ่มแฟนคลับ EXO-L. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:91211
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). สรุปผู้มีสิทธิเลือกตั้ง62 ทะลุ 51 ล้านคน. สืบค้น 6 มกราคม 2564 , จาก https://www.thairath.co.th/infographic/2595
ธรรมชาติ กรีอักษร. (2020). ถอดรหัสแฮชแท็ก #เว้นเซเว่นทุกWednesday และ #pausemob. สืบค้น 11 มกราคม 2564 , จาก https://prachatai.com/journal/2020/03/86815
ธีรพร อุวรรณโณ. (2535). จิตวิทยาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทินี พิศวิลัย. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์
บุณยนุช นาคะ.(2560). แฟนคลับเกาหลี อัตลักษณ์เชิงวัตถุและชุมชนแฟนคลับ (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/
ไปรยา อรรคนิตย์.(2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อ Social Media (โซเชียล มีเดีย) ของวัยรุ่น Gen Z (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ผู้จัดการออนไลน์. (2020). GEN Z คือเจนเปลี่ยนโลก เปิดวาร์ป 7 ทัศนคติของ GEN Z ไทย. สืบค้น 4 มกราคม 2564 , จาก https://mgronline.com/business/detail/9630000024917
พิกุล มีมานะ และ ร.ต.ต.ดร.สนุก สิงห์มาตร.(2560). รูปแบบพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา
พิมลพรรณ ไชยนันท์.(2555). สื่อออนไลน์กับการสื่อสารทางการเมืองของเยาวชนไทย(วิทยานิพนธ์).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63783
วุฒิพล วุฒิวรพงศ์ และกิ่งกาญจน์ จงสุขไกล.(2562). พัฒนาการของช่องทางในการแสดงออกทางการเมืองในสื่อออนไลน์ ช่วง พ.ศ. 2560-2557.มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศศิมา ตุ้มนิลกาล. (2560). การนำเสนออัตลักษณ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์อินสตาแกรมของเจเนอเรชั่น: กรณีศึกษาความ แตกต่างระหว่างเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ เจเนอเรชั่นวาย และเจเนอเรชั่นแซด. สืบค้น 6 มกราคม 2564 , จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3712/1/sasima_tumn.pdf
ศักดิ์สิน อุดมวิทยไพศาล, ยุภาพร ยุภาศ และสัญญา เคณาภูมิ. (2019). กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน Theoretical Conceptual Framework of People’s Political Behaviors. สืบค้น 11 มกราคม 2564 , จาก file:///C:/Users/USER/Downloads/167644-ไฟล์บทความ-595326-1-10-20190623%20(1).pdf
ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์ และ โอปอล์ สุวรรณเมฆ.(2563). รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเจเนเรชั่น แซท.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th
อนุชิต ไกรวิจิตร. (2020). รวมรูปแบบ ‘การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง’ ของคนรุ่นใหม่. สืบค้น 11 มกราคม 2564 , จาก https://thestandard.co/political-symbolic-expression/
vanat putnark. (2017). การแบ่งคนเป็น Generations มาจากไหน? ทำไมต้องนิยามจากช่วงอายุ?. สืบค้น 4 มกราคม 2564 , จาก https://thematter.co/social/where-does-generation-come-from/26074
www.ginraidee.comในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 20 พฤษภาค, 2564 , จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5707010293_4332_3469.pdf
ภาษาต่างประเทศ
Dave Clark. (2019). 10 Defining Characteristics of Generation Z. 6 January 2021, Retrieved from https://blog.ttisi.com/10-defining-characteristics-of-generation-z
Envisionit. (2018). How to Make Gen Z Love Your City. 4 January 2021 , Retrieved from https://envisionitagency.com/blog/2018/11/6-ways-to-make-gen-z-love-your-city/
IBERDROLA CORPORATIVA . (2017). From the baby boomer to the post-millennial generations: 50 years of change. 21 May 2021, Retrieved from https://www.iberdrola.com/talent/generation-x-y-z
KIM PARKER AND RUTH IGIELNIK. (2020). On the Cusp of Adulthood and Facing an Uncertain Future: What We Know About Gen Z So Far. 4 January 2021, Retrieved from www.pewsocialtrends.org/essay/on-the-cusp-of-adulthood-and-facing-an-uncertain-future-what-we-know-about-gen-z-so-far/
Martin Luenendonk. (2019). Common Characteristics of Generation Y Professionals. 6 January 2021, Retrieved from https://www.cleverism.com/common-characteristics-of-generation-y-professionals/
Sabine Steiner. (2016). Generation Y in the workplace. 4 January 2021, Retrieved from https://talentor.com/blog/generation-y-in-workplace
SALLY KANE. (2019). The Common Characteristics of Millenial Professionals. 6 January 2021, Retrieved from https://www.thebalancecareers.com/common-characteristics-of-generation-y-professionals-2164683
SARAH LASKOW. (2014). Generations Are an Invention—Here's How They Came to Be. 4 January 2021, Retrieved from
UNKNOW. (2020). UNDERSTANDING GEN Z. 4 January 2021 , Retrieved from https://psmag.com/ideas/special-projects/generation-z