ความคิดเห็นต่อการเลือกใช้สื่อบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ “เป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร”เกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อ โน้มน้าวใจให้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน)

Main Article Content

อัญชลี คุณาลังการเจรริญ
พรรษา รอดอาตม์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความน่าเชื่อถือของเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร เกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความน่าเชื่อถือของเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตรกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตรของกลุ่มเป้าหมาย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตรกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการเอไอเอส โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้รูปแบบเชิงสำรวจ (Survey Research) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีช่วงอายุ 21-30 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดเป็นปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 15,001-30,000 บาท และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนห้างร้าน ผลการทดสอบสมมติฐานด้านความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความน่าเชื่อถือของสื่อบุคคลกับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความน่าเชื่อถือของเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตรในภาพรวมต่อการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจให้หันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของเอไอเอสมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก หมายความว่ายิ่งสื่อบุคคลถูกสื่อสารว่ามีความน่าเชื่อถือมากเท่าใด โอกาสที่จะสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจให้กลุ่มตัวอย่างหันมาใช้ผลิตภัณฑ์และบริการจะมีมากขึ้นตามไปด้วย และด้านความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคลผ่านสื่อต่างๆ กับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจพบว่าการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอไอเอสจากเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตรผ่านสื่อในภาพรวมต่อการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจให้หันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง หมายความว่าไม่ใช่การสื่อสารโน้มน้าวใจผ่านสื่อทุกประเภทที่จะมีผลต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่มตัวอย่าง จากผลการศึกษาสื่อกิจกรรมมีค่าระดับความสัมพันธ์มากที่สุด และสื่อมวลชนมีค่าระดับความสัมพันธ์ที่น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทอื่นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ฐิติพร แก้ววิมล. (2559). การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ในโครงการ “อย่าให้ใครว่าไทย”. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สาขาวิชาบริหารสื่อสารมวลชน.

ณัฏฐ์หทัย เจิมแป้น. (2558). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สก็อตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

ภัสสรนันท์ เอนกธรรมกุล. (2553). ผลกระทบจากการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (Celebrity) ที่เป็นผู้นำเสนอสินค้าหลากหลายตราสินค้าในงานโฆษณา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

เว็บสังคมออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ของคนรุ่นใหม่. (2560). twitter มีข้อดีและข้อเสีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม, 2564, จาก https://www.unmeeonline.org/twitter-มีข้อดีและข้อเสียอะไร/

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2563. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม, 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/news events/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

สำนักวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม. (2563). ส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ไตรมาสที่ 3 ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม, 2564, จาก http://www.nbtc.go.th/Business/commu/.aspx

ศรสวรรค์ รังสร้อย. (2562). อิทธิพลของพรีเซนเตอร์ต่อการจดจํา ทัศนคติ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของสินค้า FMCG. (สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตร์บัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.

ศึกษากลยุทธ์ AIS ทำไมต้องทุ่มงบจ้างพรีเซนเตอร์. (2561). สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม, 2564, จากhttps://www.thumbsup.in.th/strategy-ais-presenter

ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Celebrity Marketing. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: BrandAgebooks

ศรีวิมล อังศุสิงห์. (2557). การเปิดรับและทัศนคติที่มีต่อการโฆษณาที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซ็นเตอร์เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสและทรูมูฟของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (พิมพ์ครั้งที่6 ปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุรวี อํามะระ. (2562). ความสอดคล้องกันระหว่างการรับรู้ความน่าเชื่อถือและบุคลิกภาพของพรีเซนเตอร์และบุคลิกภาพของแบรนด์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในกลุ่มแฟนคลับของเป๊ก ผลิตโชค. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). สถาบันบัณฑิตพัฒน์บริหารศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ.

ภาษาต่างประเทศ

Hovland, C.I., Irving, I.L. and Kelley, H.H. (1968) Communication and Persuasion. AudioVisual Communication Review,

Klapper, J. T. (1960). The Effect of Mass Communication. New York: The Free Press

Ohanian. (1990). Construction and Validation of a Scale to Measure Celebrity Endorsers' Perceived Expertise, Trustworthiness, and Attractiveness (Electronics version). Journal of Advertising,