การเปิดรับข่าวสาร และพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นจีนจากแพลตฟอร์ม E-Commerce
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “การเปิดรับข่าวสาร และพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นจีนจากแพลตฟอร์ม E-Commerce” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเสื้อผ้าแฟชั่นจีน และพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นจีนจากแพลตฟอร์ม E-Commerce เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เคยซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นจีนจากแพลตฟอร์ม E-Commerce ได้แก่ Shopee Lazada หรือ SHEIN จำนวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 18-24 ปี เป็นนักเรียน นักศึกษา มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน เปิดรับข่าวสารผ่าน Shopee และเปิดรับผ่านแอปพลิเคชันมากที่สุด โดยมีความถี่เฉลี่ยต่อเดือนในการเปิดรับข่าวสารคือ 9 วัน และส่วนใหญ่เปิดรับมากกว่า 15-30 นาทีต่อครั้ง เนื้อหาข่าวสารที่เปิดรับบ่อยที่สุดคือ ข้อมูลเกี่ยวกับโปรโมชั่นต่าง ๆ (เช่น สินค้าลดราคา, คูปอง และสิทธิพิเศษ) ส่วนด้านพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นจีนจากแพลตฟอร์ม E-Commerce พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับช่วงความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้งต่อเดือน และเหตุผลในการตัดสินใจซื้อที่กลุ่มตัวอย่างเลือกตอบมากที่สุดคือ มีสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นให้เลือกซื้อหลากหลาย ทั้งยังพบว่าเพศหญิงมีความถี่และระดับช่วงระยะเวลาในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเสื้อผ้าแฟชั่นจีนจากแพลตฟอร์ม E-Commerce มากกว่าเพศชาย และผู้ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นจีนจากแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่มีอายุ 18-24 ปี เป็นนักเรียน นักศึกษา และมีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน มีระดับช่วงระยะเวลาในการเปิดรับข่าวสารในแต่ละครั้งมากกว่าผู้ซื้อที่มีอายุ 25-34 ปี ที่มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ประกอบธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย และมีรายได้ 10,001 ขึ้นไป และจากการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ผู้ซื้อที่มีความถี่การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเสื้อผ้าแฟชั่นจีนจากแพลตฟอร์ม E-Commerce (วันต่อเดือน) มาก จะมีระดับช่วงความถี่การซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นจีนผ่านแพลตฟอร์ม E-Commerce มากตามไปด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กัญญารินทร์ วัฒนเรืองนันท์. (2558). อิทธิพลของ Beauty Influencers ที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงานตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุฑามาศ ภัทโรวาสน์. (2557). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้เปิดรับเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ www.weloveshopping.com. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณิชชา ยงกิจเจริญ. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อศิลปินวง EXO ของกลุ่มแฟนคลับ EXO-L. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุณยนุช เอื้อศิรินุเคราะห์. (2558). พฤติกรรมการซื้อและความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทร์หทัย เฑียรเดช และ ศุภมณฑา สุภานันท์. (2561). การเปิดรับข้อมูล การเลือกรับสื่อ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคผ่าน ช่องทางสื่อดิจิทัลที่มีต่อธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นไทย. BU ACADEMIC REVIEW, 17 (1), 152
พสุ เดชะรินทร์. เมื่อจีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นําธุรกิจ Fast Fashion โลก. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1000022
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2564. https://www.etda.or.th/ getattachment/a3ad051d-e372-48f6-9fbe9a22de75666c/IUB2021_Slides-V5.pdf.aspx
Office of Knowledge Management and Development. (2565). Fast Fashion แฟชั่นซื้อง่าย ขายเร็ว. https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4762/
Prakai. (2564). เจาะลึกแบรนด์ Shein ฟาสต์แฟชั่นราคาธรรมดา ที่การเติบโตไม่ธรรมดา ม้ามืดในสนามอีคอมเมิร์ซทั่วโลก. https://www.marketingoop s.com/data/insight-sheins-strategy-for-winning-over-genz-shoppers-beats-other-ecommerce/
TTPCARGO. (2565). 5 อันดับ ประเภทสินค้า ที่นิยมนำเข้าสินค้าจากจีน มากที่สุดในปี 2564. https://ttpcargo.com/5-อันดับ-ประเภทสินค้า-ที่/
Yang Ying. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค(Facebook) ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภาษาอังกฤษ
We are social. (2022). DIGITAL 2022: ANOTHER YEAR OF BUMPER GROWTH. https://wearesocial.com/us/blog/2022/01/digital-2022-another-year-of-bumper-growth-2/