ภายใต้วาทกรรม “เรือนร่างชายข้ามเพศ” : อำนาจซ่อนเร้นของอุตสาหกรรมบริการศัลยกรรมเพื่อการข้ามเพศในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภายใต้สังคมทุนนิยมที่ปกคลุมด้วยบรรทัดฐานรักต่างเพศ ปฏิบัติการของสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในยุคหลังอุตสาหกรรม (Post-Industrial Society) แสดงให้เห็นการร่วมมือกันระหว่างสถาบันทางการแพทย์กับระบบทุนนิยม ซึ่งมอบอำนาจให้แพทย์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนแก้ไขซ่อมแซม “เรือนร่างชายข้ามเพศ” ให้กลับเข้าสู่บรรทัดฐานดังกล่าว โดยการกำหนดคุณค่าของร่างกายด้วยเหตุผลของวิทยาศาสตร์ที่เน้นย้ำให้เพศสภาวะเป็นเรื่องทางชีววิทยา พร้อมทั้งตัดสินและชี้นำให้ชายข้ามเพศเป็นโรคหรือภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีและความรู้ทางการแพทย์ โดยมีกลไกของรัฐทั้งนโยบายทางด้านเศรษฐกิจและสุขภาวะช่วยสร้างความชอบธรรมให้แก่กระบวนการเปลี่ยนผ่านร่างกายโดยแพทย์ เรือนร่างชายข้ามเพศจึงไม่ใช่ “เรือนร่างตามธรรมชาติ” (Naturalistic Body) แต่เป็น “เรือนร่างทางสังคม” (Social Body) ที่แฝงฝังด้วยค่านิยมของวาทกรรมทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกเสรีนิยมใหม่
ปฏิบัติการของสังคมและวัฒนธรรมไม่เพียงแต่ฉายภาพให้เห็นมิติทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการกำหนดวาทกรรมเรือนร่างชายข้ามเพศเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นปฏิบัติการทางอำนาจของ “สถาบันทางการแพทย์” ภายใต้ระบบทุนนิยมที่สร้างความรู้ ความจริง และปลูกฝังอุดมการณ์เกี่ยวกับร่างกายผ่าน “วาทกรรมเรือนร่างชายข้ามเพศ” ซึ่งเกิดจากการนำวาทกรรมต่าง ๆ มาปะทะประสานกัน จนเกิดเป็นความหมายของเรือนร่างชายข้ามเพศที่เกี่ยวพันกับมิติทางเศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างกันไปตามโรงพยาบาลรัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่กระบวนการข้ามเพศย่อมมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจ ปฏิบัติการทางการแพทย์จึงสร้างความ “ไว้วางใจ” (Trust) ให้แก่ชายข้ามเพศ ด้วยการเน้นย้ำถึงความรู้ความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่สามารถสร้างผลลัพธ์จากการผ่าตัดที่ดี และสามารถใช้ทักษะต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยสื่อสารผ่านทางภาษาภาพและภาษาเขียน ซึ่งเป็นการสร้างระบบนามธรรม (Abstract Systems) ที่ทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในระบบดังกล่าวมีความมั่นใจในทักษะความเชี่ยวชาญของแพทย์ ซึ่งเป็นเพียงตัวตนหน้าฉาก (Frontstage) ที่ถูกแสดงให้เห็นเท่านั้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
ชเนตตี ทินนาม. (2564). ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย. สมาคมเพศวิถีศึกษา.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2541). ความนำ. ในปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บรรณาธิการ), เผยร่าง-พรางกาย : ทดลองมองร่างกายในศาสนา ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และมานุษยวิทยา (น.1-13). โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ภาษาต่างประเทศ
DeLamater, J. D., & Hyde, J. S. (1998). Essenentialism vs. Social Constructionism in the Study of Human Sexuality. Journal of Sex Research, 1(35), 10-18.
Foucault, M. (1980). Body/Power in C. Gordon (Eds.), Michel Foucault: Power/Knowledge (pp. 55-62). Harvester.
Giddens, A. (1990). The Consequences of Modernity. Polity Press.
Jackson, P., & Sullivan, G. (1999). A Panoply of Roles: Sexual and Gender Diversity in
Contemporary Thailand In Jackson, P., & Sullivan, G. (Ed.), Lady Boys, Tom Boys, Rent Boys: Male and Female Homosexualities in Contemporary Thailand (pp.1-27). Harrington.
Korpaisarn, S., Chiewchalermsri, D., Arunakul, J., Chinthakanan, O., Poomthavorn, P., & Sriphrapradang, C. (2021). Effects of testosterone treatment on transgender males: A single-institution study. SAGE Open Medicine, 9, 1-9. DOI: 10.1177/20503121211051546
Kurahashi, H., Watanabe, M., Sugimoto, M., Ariyoshi, Y., Mahmood, S., Araki, M., Ishii, K., Nasu, Y., Nagai, A., & Kumon, H. (2013). Testosterone replacement elevates the serum uric acid levels in patients with female to male gender identity disorder. Endocrine Journal, 60(12), 1321-1327. DOI: 10.1507/endocrj.ej13-0203
Meyer, G., Mayer, M., Mondorf, A., Flügel, A. K., Herrmann, E., & Bojunga, J. (2020). Safety and rapid efficacy of guideline-based gender-affirming hormone therapy: an analysis of 388 individuals diagnosed with gender dysphoria. Eur J Endocrinol, 182(2), 149-156. DOI: 10.1530/EJE-19-046
Motmans, J., Meier, P., Ponnet, K., & T’Sjoen, G. (2011). Female and Male Transgender Quality of Life: Socioeconomic and Medical Differences. Journal of Sexual Medicine, 9, 743-750. DOI: 10.1111/j.1743-6109.2011.02569.x
Shadid, S., Abosi-Appeadu, K., De Maertelaere, A., Defreyne, J., Veldeman, L., Holst, J. J., Lapauw, B., Vilsbøll, T., & T’Sjoen, G. (2020). Effects of Gender-Affirming Hormone Therapy on Insulin Sensitivity and Incretin Responses in Transgender People. Diabetes Care, 43, 411-417. https://doi.org/10.2337/dc19-1061
van de Grif, T. C., Kreukels, B. P. C., Elfering, L., Özer, M., Bouman, M., Buncamper, M. E., Smit, J. M., & Mullender, M. G. (2016). Body Image in Transmen: Multidimensional Measurement and the Effects of Mastectomy. J Sex Med, 13, 1778-1786. https://doi.org/10.1016/j.jsxm.2016.09.003