แนวทางการพัฒนากิจกรรมรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับ Generation Z ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

Main Article Content

วชิรา สุวรรณวงศ์
นิธิดา แสงสิงแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาความรู้และความคิดเห็นจากกลุ่ม Generation Z ที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม รวมทั้งเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเชิงนโยบายของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในการพัฒนากิจกรรมการรูเท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 12 – 30 มิถุนายน 2566 โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์จากเอกสาร และการสังเกตการณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Generation Z ที่เข้าร่วมกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อ 6 คน และผู้บริหาร/ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 3 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่ม Generation Z ได้รับเนื้อหาความรู้จากกิจกรรม ซึ่งเป็นการผสมผสานความรู้การเท่าทันสื่อกับทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข่าวปลอม เนื้อหาเกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และเนื้อหาการประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านกรณีศึกษา ในส่วนของความคิดเห็นจากกลุ่ม Generation Z ที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้สื่อในเชิงสร้างสรรค์และเข้ามาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสังคมด้วยการเป็นเยาวชนผู้ใช้สื่อในฐานะพลเมืองดิจิทัลของชุมชนที่มีความพร้อมในการนำทักษะรู้เท่าทันสื่อมาขยายผลให้กับครอบครัว โรงเรียน และสังคม โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเชิงนโยบายในการพัฒนากิจกรรม พบว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมพร้อมสร้างภาคีเครือข่ายสำหรับการจัดกิจกรรมรู้เท่าทันสื่อเพื่อต่อยอดองค์ความรู้อย่างรอบด้าน โดยผลักดันให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมอย่างมีประสิทธิภาพ


 


คำสำคัญ : ข่าวปลอม, รู้เท่าทันสื่อ, เนื้อหาความรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

จุฑามาศ ฉัตรสุริยาวงศ์ (2564). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์กับการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฎฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี และนุชประภา โมกข์ศาสตร์ (2562). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. สถาบันพระปกเกล้า, สำนักวิจัยและพัฒนา.

พรทิพย์ เย็นจะบก (2546). การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy). วารสารมนุษยศาสตร์ เล่มที่ 11 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์.วารสารไทยคู่ฟ้า ฉบับเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2562 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2562). นโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ 12 เรื่อง. https://www.soc.go.th/wp-content/

ศิริกาญจน์ จันทร์วิชโน (2564). ทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Thailand Internet User Behavior. https://www.etda.or.th/th

สุมิตร์ ผูกพานิช (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต[. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ (2563). การศึกษาลักษณะของข่าวปลอมที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในประเทศไทยและแนวทางการรับมือ. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (2564) ผลการวิจัยล่าสุดเผยว่า นักเรียนไทยอ่อนเรื่องการรับมือข่าวปลอม. https://www.beartai.com/brief/political-issue/650254

Thailand Digital Stat 2022 ของ We Are Social (2565). สรุป 52 Insight สำคัญจาก Thailand Digital Stat 2022 ของ We Are Social. https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-are-social/