โฆษณาบนยูทูบ: ทัศนคติและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง

Main Article Content

สุธี สนธิ
โมไนยพล รณเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการโฆษณาและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบ เพื่อศึกษาความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับทัศนคติต่อการโฆษณาบนยูทูบและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้รูปแบบเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากร คือ ผู้ใช้งาน YouTube อายุระหว่าง 18 – 60 ปี ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก YouTube Premium จำนวน 305 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อการโฆษณาบนยูทูบในภาพรวมอยู่ในระดับเป็นกลาง โดยมีทัศนคติต่อโฆษณาวิดีโอในฟีดสูงที่สุด และมีทัศนคติต่อโฆษณาในสตรีมแบบข้ามไม่ได้ต่ำที่สุด ส่วนพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาในสตรีมแบบข้ามไม่ได้สูงที่สุด และมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาวิดีโอในฟีดต่ำที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าลักษณะทางประชากรของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ และรายได้ส่วนตัวต่อเดือน อธิบายทัศนคติต่อการโฆษณาและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นยังพบว่าทัศนคติต่อการโฆษณาบนยูทูบมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบอย่างมีนัยสำคัญ หรือผู้บริโภคที่มีทัศนคติที่ดีต่อการโฆษณาบนยูทูบจะมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาต่ำกว่าผู้บริโภคมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการโฆษณาบนยูทูบ โดยรูปแบบของโฆษณาบนยูทูบที่มีขนาดความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ โฆษณาในสตรีมแบบข้ามไม่ได้ รองลงมาคือ โฆษณาในสตรีมแบบข้ามได้ โฆษณาวิดีโอในฟีด และโฆษณาแบนเนอร์บนหน้าแรก ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กอบกาญจน์ เหรียญทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. (สารนิพนธ์). มหาวิทยาลัยสยาม.

กัลยา วานิชย์บัญชา และ รัฐพงศ์ จั่วแจ่มใส. (2560). การศึกษาทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มของผู้บริโภคสื่อโฆษณาในสตรีมบนกลุ่มวีดีโอออนไลน์. https://so02.tcithaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95260/74438

ชนม์ธนัทกรณ์ อยู่ชยันตี และ ม.ล.วิฏาธร จิรประวัติ. (2553). ทัศนคติต่อโฆษณา และพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาในโรงภาพยนตร์.

https://so03.tcithaijo.org/index.php/jprad/article/download/134373/100535/355760

ญาณกร วิภูสมิทธ์. (2558). การเปิดรับ และพฤติกรรมการตอบสนองต่อโฆษณาทางยูทูบ (YouTube) ของผู้บริโภค. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

ณัฐพล พฤกษวันประสุต. (2561) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปิดกั้นโฆษณาดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษายูทูป. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์. (2558). ทัศนคติ การรู้เท่าทันสื่อ และพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภณภาส เดชหอมชื่น. (2562). พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงสื่อโฆษณาบนแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. http://learningofpublic.blogspot.com

วันวิสา ยังโหมด. (ม.ป.ป.). การศึกษาการเปิดรับรูปแบบสื่อโฆษณาและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงสื่อโฆษณาบนเว็บไซด์ยูทูบ YouTube ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mlw11/sec1/6014963018.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ. ไทยวัฒนาพานิช.

ศิวพร ลีลาวัฒนสุข. (2553). การโฆษณาด้วยแบนเนอร์บนเว็บไซต์. วารสารนักบริหาร, 30(3), 117-121.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). กว่าจะเห็นเป็นโฆษณา. สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

อริสา สำรอง. (2549). จิตวิทยาการตลาดและผู้บริโภค. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาสภา รัตนมุ่งเมฆาและคณะ. (2559). ทัศนคติ พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมละครซีรีส์ช่อง GMM25 ผ่านสื่อยูทูบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภาษาอังกฤษ

Business of Apps. (n.d.). YouTube Revenue and Usage Statistics (2023). https://www.businessofapps.com/data/YouTube-statistics/

Federico de Gregorio, Jong-Hyuok Jung, & Yongjung Sung. (2017). Advertising Avoidance: A Consumer Socialization Perspective. Online Journal of Communication and Media Technologies.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research.

Henilia Yulita, Pinckey TRIPUTRA, Udi Rusadi, & Titi WIDANIGSIH. (2022). Ads Avoidance And Attitude Towards Online Advertising Among Net-Generation In Jakarta. International Journal of Environmental Sustainability and Social Science.

Hunt, Todd, and Ruben, Brent D, (1993). Mass Communication: Producer and Consumers. New York: Harper College Publishers.

Louise Kelly; Gayle Kerr; and Judy Drennan. (2010). Avoidance of Advertising in Social Networking Sites. The Teenage Perspective Journal of Interactive Advertising.

Lutz, R. (1991). The Role of Attitude Theory in Marketing. In H. A. Kassarjian, Perspectivesin Consumer Behaviour. New Jersey: Prentice Hall.

McQuail, D. (2000). McQuail’s mass communication theory 4 ed. London: Sage.

Speck, P. S., & Elliott, M. T. (1997). Predictors of advertising avoidance in print and broadcast media. Journal of Advertising.

Statista. (n.d.). Ad blocking user penetration rate in the United States from 2014 to 2021.https://www.statista.com/statistics/804008/ad-blocking-reach-usage-us/

Statista. (n.d.). Number of adblock users worldwide from 2013 to 2019. https://www.statista.com/statistics/435252/adblock-users-worldwide/

Statista. (n.d.). Number of social media users worldwide from 2017 to 2027. https://www.statista.com/statistics/278414/number-of-worldwide-social-network-users/