Sharenting: ปัญหาของเด็ก ปัญหาของครอบครัว หรือปัญหาที่สังคมไทยต้องขบคิดร่วมกัน

Main Article Content

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งทบทวนบริบทของพฤติกรรมการเผยแพร่รูปภาพและกิจกรรมของลูกผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยพ่อแม่ หรือพฤติกรรมแบบ Sharenting ซึ่งเริ่มกลายเป็นปัญหาและความเสี่ยงใหม่กำลังถูกพูดถึงทั่วโลกพฤติกรรมดังกล่าวสร้างความเสี่ยงที่เกิดต่อตัวเด็ก ได้แก่ ความปลอดภัยจากอาชญากรรม การแอบอ้างตัวตน การแพทย์ และสภาพจิตใจจากการเลี้ยงดูที่อาจนำไปสู่ความรู้สึกของลูกในอนาคต ไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างตัวพ่อแม่และลูกที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้นและเกิดความไม่พอใจต่อภาพ วิดิโอ และเนื้อหาที่พ่อแม่เผยแพร่ไปแล้ว ผลการศึกษาในหลายประเทศพบว่าการที่พ่อแม่และสังคมมีความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมดังกล่าวจะสามารถบรรเทาปัญหาและความเสี่ยงของพฤติกรรมแบบ Sharenting ได้


นอกจากนั้นผลศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ว่าการเลี้ยงดูลูกในยุคศตวรรษที่ 2มีสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโลกเข้าไว้ด้วยกันทำให้พ่อแม่มักหาข้อมูลแบบแผนในการเลี้ยงดูลูก อินเตอร์เน็ตจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ประกอบสร้างความเป็นพ่อแม่ ในขณะเดียวกันคนที่เป็นพ่อแม่ก็มักจะนำเสนอและสรรค์สร้างตัวตนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีทั้งเนื้อหาในบทบาทความเป็นมนุษย์ ที่เผยแพร่เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว ทั้งรูปภาพ วิดิโอ ไปจนถึงประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน


จากการวิจัยประเด็นนี้ในสังคมไทย ปัญหาชุดดังกล่าวอาจมีที่มาจากแนวคิดที่หล่อหลอมสังคมไทยซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญด้านสิทธิส่วนบุคคลของลูกมากนัก แม้พ่อแม่จำนวนหนึ่งจะมีความเข้าใจ แต่บางส่วนก็เลือกที่จะเผยแพร่ภาพลูกด้วยเหตุผลที่ว่าพ่อแม่เป็นผู้คัดกรอง และเรื่องราวเหล่านั้นมีแต่แง่บวก ประกอบกับพัฒนาการทางกฎหมาย และความเข้าใจต่อความเสี่ยงของสื่อสังคมออนไลน์ที่มากเพียงพอในการป้องกัน และสร้างความระแวดระวัง ต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยกลไกทางกฎหมาย การเผยแพร่ข้อมูลจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความเข้าใจในการเลี้ยงดูเด็ก

Article Details

บท
บทความวิชาการ