การประกอบสร้างความหมายความงาม กรณีศึกษาโฆษณาออนไลน์ของมิสทิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับความงามที่ปรากฏในงานโฆษณาของมิสทิน และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการของการประกอบสร้างความหมายของความงามที่ปรากฏในงานโฆษณาของมิสทิน เพื่อต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารเกี่ยวกับความงามในโฆษณาของแบรนด์มิสทินในแต่ละยุค โดยเป็นการศึกษาโฆษณาทางออนไลน์ในช่องทาง YouTube ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 จนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2566 จำนวนทั้งหมด 9 ชิ้นงาน โดยเน้นศึกษาตามแนวทางและทฤษฎีการประกอบสร้างความหมายความงาม แนวคิดและมายาคติเกี่ยวกับความงามและแนวคิดเกี่ยวกับโฆษณา ซึ่งผู้วิจัยสนใจวิเคราะห์การประกอบสร้างความหมายความงามด้วยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และบันทึกข้อมูลลงในตารางรหัส (Coding Sheet) ผลการศึกษาสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน ได้แก่ 1) การประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับความงามที่ปรากฏในงานโฆษณาของมิสทินผ่าน 4 ประเด็น ได้แก่ แก่นเรื่อง โครงเรื่อง ฉาก และคุณลักษณะทางกายภาพของพรีเซ็นเตอร์หรือตัวแสดงหลัก 2) การวิเคราะห์การพิจารณาเปรียบเทียบการประกอบสร้างความหมายความงามผ่าน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านความงาม มิติด้านสังคม และมิติด้านความเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง (Mistine) โดยจะเห็นได้ว่าโฆษณาของมิสทินแบ่งได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคปี พ.ศ. 2558 – 2563 ที่โฆษณาของมิสทินส่วนใหญ่มีการนำเสนอความงามเป็นตามแบบมาตรฐาน และยุคหลังปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา โฆษณาของมิสทินเริ่มมีการนำเสนอความงามที่ท้าทายต่อมายาคติหลักหรือการนำเสนอความงามที่ไม่ได้เป็นไปตามอุดมคติความงามในสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กชกรณ์ เสรีฉันทฤกษ์. (2551). วาทกรรมความงามของผู้หญิงในสังคมไทย : มุมมองพหุมิติ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:125653
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. อินทนิล.
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2554). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
กาญจนา แก้วเทพ ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล และกิตติ กันภัย. (2543). มองสื่อใหม่ มองสังคมใหม่. เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2539). สื่อส่องวัฒนธรรม. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
กาญจนา แก้วเทพ. (2547). ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาสื่อสารมวลชน. แบรนด์เอจ.
เทพชู ทับทอง. (2546). ผู้หญิงไทยในอดีต. สุวีริยาสาส์น.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2546). สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. อีแอนด์ไอคิว.
สกนธ์ ภู่งามดี. (2547). การวางแผนในงานโฆษณา. บุ๊ค พอยท์.
สหภาพ พ่อค้าทอง. (2563). “สื่อสร้างสวย” มายาคติจากการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม, 6(1), 12-21. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/243014/165100
MISTINE OFFICIAL (2566). #NEW #MISTINE So Easy Eyebrow Pencil จะคิ้วอุย คิ้วบาง คิ้วเข้ม…. คิ้วแบบไหน ก็สวย. https://www.youtube.com/watch?v=R_Lh7i30AhU
MISTINE OFFICIAL. (2558). ฉายแสงทุกการเติบโต. https://www.youtube.com/watch?v=fQFsB
MISTINE OFFICIAL. (2564). “ฉัน มั่น หน้า” I’M PERFECTLY ME. https://www.youtube.com/
ภาษาอังกฤษ
Corrigan, P. (1997). The Sociology of Consumption. Sage.
Elias, A. S., Gill, R., & Scharff, C. (2017). Aesthetic labour rethinking beauty politics in neoliberalism. Palgrave Macmillan.
Barthes, R. (2005.The Language of fashion by Roland Barthes. (Andy Stafford, Trans.). (Andy Stafford and Michael Carter, Eds.). Breg.
Hutton, D. (1994). Vogue beauty for life. Crown.
Lakoff, R. (1984). Face value, the politics of beauty. Routledge.
Leiss, W., Kline, S., & Jhally, S. (1990). Social communication in advertising: Persons, products & images of well-being. Routledge.
Wolf, N. (1991). The Beauty Myth: How Image of Beauty Are Used Against Women. Anchor Books.