การวางแผนการสื่อสารในภาวะปกติและวิกฤตของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กมลเนตร มีชัย
พรรษา รอดอาตม์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานี ในภาวะปกติ และในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใชระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหารระดับสูง กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง และกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ พร้อมศึกษาและรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องในช่วงภาวะวิกฤตคือการรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2563 ส่วนช่วงภาวะปกติ เป็นการศึกษาแผนการสื่อสารประจำปี 2563 ผลการศึกษาพบวา การวางแผนการสื่อสารองค์กรในภาวะปกติ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์นโยบายหรือข้อสั่งการของผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในที่ประชุมผู้บริหารทุกเดือน เพื่อนำข้อสรุปที่ได้ไปวางแผนการสื่อสารต่อไป ทั้งนี้สำหรับปัญหาทางการสื่อสารที่พบ คือ การประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาขาดทิศทางหลัก เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องในการวางแผนการสื่อสารองค์กร ขาดความรู้ ความสามารถในด้านดังกล่าว จากนั้นนำปัญหาการสื่อสารมากำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ อาทิ เพื่อเพิ่มระดับการรับรู้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานโครงการที่สำคัญของสายงานต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารข้อมูลให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ส่วนกลุ่มเป้าหมายการสื่อสาร แบ่งออกเป็น กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก คือ พนักงาน, ลูกค้า/ผู้ใช้ไฟฟ้าและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน เช่น กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานภาครัฐ/ชุมชน สำหรับกลยุทธ์และยุทธวิธีการสื่อสาร อาทิ การพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการสื่อสาร, กลยุทธ์การกำหนดวาระข่าวสาร, การพัฒนาความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน หน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน สำหรับสารหรือข้อความที่ใช้ในการสื่อสาร ประกอบด้วย สารที่ใช้สื่อสารระดับองค์กร โดยมีกรอบการเผยแพร่เป็นไปตามสำนักงานใหญ่กำหนดและสารที่ใช้สื่อสารเฉพาะการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานี จะมีการกำหนดกรอบเผยแพร่ตามความเหมาะสม สุดท้ายจะเป็นการประเมินผลการสื่อสาร คือ 1. รายงานผลการดำเนินการจัดกิจกรรม 2. การทำแบบสอบถามภายในองค์กร 3. การเข้าร่วมกลุ่มไลน์ของพนักงานและนำความรู้ที่อบรมไปใช้ 4. การร้องเรียนลดน้อยลง และยอดผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่า การวางแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤต แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤต คือ ช่วงที่รัฐบาลรณรงค์ให้ประชาชน Work Form Home ซึ่งไม่สามารถเตรียมแผนการรับมือได้ทัน แต่ได้มีการกำหนด Spokesperson ซึ่งจัดตั้งไว้ล่วงหน้าพร้อมกับแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤต โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมายภายในองค์กร คือ พนักงานขององค์กร และ กลุ่มเป้าหมายภายนอกองค์กร คือ ผู้ใช้ไฟฟ้า ต่อมาคือ ช่วงเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งมีการสื่อสารภายในองค์กรผ่านการทำความเข้าใจกับพนักงานในองค์กรและภายนอกองค์กรผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และช่วงหลังเกิดวิกฤต คือ การวางแผนแก้ไขปัญหาในระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2548). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี : บริษัทธนชัยการพิมพ์ จำกัด.

ธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2561). การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปทิตตา ธันยนิติกุล. (2560). การรับรู้และการตอบสนองของผู้บริโภคต่อการสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของธุรกิจร้านอาหาร : กรณีศึกษาร้านอาหารบาร์บีคิวพลาซ่า. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปัณณวัชร์ พิชัยบวรภัสร์. (2560). กลยุทธ์การจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤตในยุคดิจิทัล กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจการบินและบริการ: สายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์สายการบินแอร์เอเชียและสายการบนนกแอร์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ผลสำรวจ Adecco เผย เอกชนชะลอรับพนักงานใหม่ ลูกจ้างไม่กล้าเปลี่ยนงาน 80% หนุน work from home. (29 กรกฎาคม 2563). อเด็คโก้. สืบค้นจาก https://adecco.co.th/th/news/detail/adecco-survey-reveals-covid19-impacts

ย้อนไทม์ไลน์ 100 วัน กับสถานการณ์ ‘โควิด-19’ ในประเทศไทย. (12 เมษายน 2563). กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875664

สุธี ขวัญเงิน. (2559). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สธ.แถลงวันนี้ พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 30 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 177 ราย. (17 มีนาคม 2563). ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์ สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/general/news-433059

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). Work From Home ภาครัฐ พร้อมไหม กับ New Normal. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563

จาก https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA/Work-From-Home-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%90-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%9A-New-Normal.aspx?feed=590fb9ad-c550-4bc5-9a56-459ad4891d74

Coombs, W.T. (2015). Ongoing Crisis communication: Planning, Managing and Responding (4th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications