ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ และพฤติกรรมการรับชมรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว"
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการรับชม ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการรับชมรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" ของผู้ชมในกรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการรับชม กับทัศนคติ ที่มีต่อ รายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ กับแนวโน้มพฤติกรรมการรับชม รายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และเป็นเพศชายในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่มีอายุ 24-34 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้ส่วนตัวต่อเดือน 15,001-30,000 บาท ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" ทั้งนี้พบว่าการรับชมรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.252) โดยเป็นความสัมพันธ์ทางบวก การรับชมรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติที่มีต่อรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" ข่าวในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญ โดยด้านที่มีความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านเนื้อหารายการ (r = 0.273) รองลงมาคือ ด้านวิธีการนำเสนอ (r = 0.230) ด้านผู้ประกาศข่าว (r = 0.221) และด้านศิลปะการผลิตรายการ (r = 0.212) ทัศนคติที่มีต่อรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการรับชมรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" อย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.841) ทัศนคติที่มีต่อรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" มีความสัมพันธ์ทางบวกในทุกด้านกับแนวโน้มพฤติกรรมการรับชมรายการข่าว "รายการทุบโต๊ะข่าว" อย่างมีนัยสำคัญ โดยด้านที่มีความสัมพันธ์ สูงสุด คือ ด้านผู้ประกาศข่าว (r = 0.828) รองลงมาคือ ด้านเนื้อหารายการ (r = 0.819) ด้านวิธีการนำเสนอ (r = 0.773) และด้านศิลปะการผลิตรายการ (r = 0.755) โดยความสัมพันธ์ทุกด้านอยู่ในระดับสูงมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
โกมล ทรัพย์กุญชร (2557) ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการนำเสนอข่าวสารด้านพลังงาน ของบุคลากรสายข่าวโทรทัศน์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธีระพร อุวรรณโณ. (2535). ทฤษฎีและการวัดเจตคติ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรนรีสายโอภาศ. (2560). จริยธรรมและการนำเสนอข่าวโดยใช้เฟซบุ๊คไลฟ์ของสำนักข่าว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.
ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับชมโทรทัศน์ของวัยรุ่นในภาคใต้ตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์.
วิภาวี จันทร์แก้ว. (2559) . พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์ กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจดังตฤณแฟนคลับ. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า. 2(1), 134-152
วิริยาภรณ์ ทองสุข, (2559) การวิเคราะห์การนำเสนอข่าวเชิงคลิกเบทของเว็บไซต์ . (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต),มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.