ความคาดหวังประโยชน์ การเปิดรับ และความพึงพอใจของผู้อ่านนิตยสาร MINT MAGAZINE
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ความคาดหวังประโยชน์ การเปิดรับ และความพึงพอใจของผู้อ่านนิตยสาร Mint Magazine” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังประโยชน์ การเปิดรับ และความพึงพอใจต่อนิตยสารของผู้อ่านนิตยสาร Mint Magazine ตลอดจนถึงความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างความคาดหวังประโยชน์ การเปิดรับนิตยสาร Mint และความพึงพอใจของผู้อ่านนิตยสาร Mint Magazine การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบของการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross- Sectional Study) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ซึ่งเป็นผู้อ่านนิตยสาร Mint Magazine ที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงในช่วงอายุระหว่าง 24-35 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท มีการเปิดรับนิตยสาร Mint Magazine 2 เล่ม/ปี ระยะเวลาในการอ่านอยู่ที่ครั้งละ 10-20 นาทีโดยเฉลี่ย และมีการอ่านคอลัมน์ Mint Cover ซึ่งเป็นคอลัมน์หลักของ Mint Magazine มีรูปและบทสัมภาษณ์ของศิลปินบนหน้าปกบ่อยที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังประโยชน์ที่ได้รับก่อนการเปิดรับนิตยสาร Mint Magazine อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความคาดหวังประโยชน์ด้านความบันเทิงมากที่สุด ในขณะที่ความพึงพอใจหลังการเปิดรับนิตยสาร Mint Magazine อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความพึงพอใจด้านด้านความบันเทิงมากที่สุดเช่นเดียวกัน สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความคาดหวังประโยชน์ที่มีต่อนิตยสาร Mint Magazine ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับการอ่านนิตยสาร Mint Magazine (เล่ม/ปี) รวมถึงมีความสัมพันธ์กับความความถี่ในการอ่านคอลัมน์นิตยสาร Mint Magazine และ การอ่านนิตยสาร Mint Magazine (เล่ม/ปี) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจที่มีต่อนิตยสาร Mint Magazine รวมถึงความถี่ในการอ่านคอลัมน์นิตยสาร Mint Magazine มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจที่มีต่อนิตยสาร Mint Magazine ในขณะที่ความคาดหวังประโยชน์ที่มีต่อนิตยสาร Mint Magazine ในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกับความพึงพอใจที่มีต่อนิตยสาร Mint Magazine
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
จันทนา ทองประยูร. (2537). การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
จิราพร ประพันธ์เจริญ. (2557). ความคาดหวัง พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจของผู้อ่านในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อนิตยสาร a day BULLETIN, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาบริหารสื่อสารมวลชน.
ธนพงศ์ พุทธิวนิช. (2559). เปลี่ยนผ่าน”จาก“สื่อสิ่งพิมพ์” สู่ “ดิจิตอล”. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_16379
อรรคพล อุมะวิภาต. (2560). ความคาดหวังประโยชน์ พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจของผู้อ่านในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อนิตยสารดนตรีBlast(Free Copy). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.
อทิตยา มะลิซ้อน. (2549). การนำเสนอสาร ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ จากนิตยสารเฟิร์สโมบาย(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Thaipublica. (2560). ไทม์ไลน์-เส้นทางนิตยสารไทยจาก ‘วันวาน’ สู่ ‘การ เปลี่ยนผ่าน’ ในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2017/06/thai- magazine-timeline-datajournalism/
กฤษฏิ์ จิระเกียรติวัฒนา. ผู้บริหาร บริษัท ของก้อง 24 จำกัด.(17 ธันวาคม 2563), สัมภาษณ์.
สรญา วัฒนเจียมวงษ์. ผู้บริหาร บริษัท ของก้อง 24 จำกัด. (24 ธันวาคม 2563), สัมภาษณ์.
McQuail, D. (2005). McQuail’s Mass communication Theory. London: Sage.
Palmgreen, P., & Rayburn, J. D. (1985). An expectancy-value approach to media gratification. In K. E. Rosengren, P. Palmgreen & L. A. Wenner (Eds.). Media Gratification Research: Current Perspectives. Beverly Hills, CA: Sage Publications.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.