การปรับตัวของครูในยุคดิจิตอล จาก New Normal สู่ Next Normal

ผู้แต่ง

  • Salinee Antarasena Silpakorn University,Thailand

คำสำคัญ:

VARK Learning, Digital Transformation, Innovation Ideation

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นโครงการนำร่องการผลิตสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของการปรับตัวในวิชาชีพครู โดยเฉพาะด้านการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนที่ปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ ประกอบกับภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ที่เป็นผลกระทบจากวิกฤตด้านการศึกษาภายหลังการระบาดโควิด-19 โครงการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของพื้นที่เป้าหมาย และเพื่อดำเนินการกำหนดแนวความคิด (ideation) สำหรับการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเรียนรูภาพการจัดการเรียนรูของผูเรียน มีความสอดคลองกับบริบทในพื้นที่เป้าหมาย (โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็กดี 2 จังหวัดชัยภูมิ) โดยมีระเบียบวิจัยหลัก ได้แก่ การนิเทศแบบสังเกตการณ์สอน การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสัมภาษณ์แบบปฏิบัติซ้ำ (Serial or Repeated Interview) โดยมีการสุ่มตัวอย่างผู้เรียนแบบ Purposive Sampling ผลการวิจัยพบว่ามีความเป็นไปได้ที่ตัวต้นแบบ ฯ ที่พัฒนาในโครงการนำร่องนี้ จะสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เหมาะสมกับลักษณะรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล สามารถนำไปปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการเรียนรู้และเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมลักษณะรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในการนิเทศภายในของโรงเรียน

References

กรมอนามัย, สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (5 สิงหาคม 2563). แนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ประเทศไทย. https://bit.ly/3RPSZ4t

ฐิติพงศ์ เกตุอมร, พัชราวดี พรหมดวง, นุษณา ณ พายัพ, และ อรรถพร ชาญชญานนน์. (2560). การใช้กรอบอ้างอิงสมรรถนะด้านภาษาแห่งสหภาพยุโรปในระบบการศึกษาไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 16(1), 77–88.

นวรัตน์ ไวชมภู, ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, และกิตติพร เนาว์สุวรรณ (2562). การเรียนรู้แบบเชิงรุก: การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.14(1), 149–159.

ยศวีร์ สายฟ้า (2565). Learning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย. https://research.eef.or.th/learning-loss-recession/

วิจารณ์ พานิช. (2565). Learning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย. https://research.eef.or.th/learning-loss-recession/

วิจารณ์ พานิช. (2560). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3–14.

สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New Normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

สุธิดารัตน์ มัทธวรัตน์ (2563). New Normal is not Normal. จุลสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, 8(15), 7.

สุวิมล มธุรส. (2563). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33–42.

เสาวลักษณ์ อนุยันต์. (2563). อนาคตทางการศึกษา: ผลกระทบจากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(2), 14–25.

สำนักข่าวไทยพีบีเอส. (5 พฤศจิกายน 2565). กสศ. เปิดรายงานวิกฤตการเรียนรู้ ของเด็กประถมต้น หลังโควิด-19. https://www.thaipbs.or.th/news/content/320772

สำนักข่าวไทยโพสต์. (2 ธันวาคม 2562). สพฐ.ตั้งเป้าความรู้ภาษาอังกฤษเด็ก ม.6 อยู่ในระดับ B2 มาตรฐานยุโรป. https://www.thaipost.net/main/detail/51596

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาค. บริษัท เอส. บี. เค. การพิมพ์ จำกัด.

Engzell, P., Frey, A., and Verhagen, M. (2021). Learning Loss due to School Closures During the COVID-19 Pandemic. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America (PNAS). 118(17):e2022376118. https://doi.org/10.1073/pnas.2022376118

Pal, I., Sukwanchai, K., Bhuridadtpong, A., & Pal, A. (2022). Impacts of pandemic on education sector in Thailand. In R. Shaw & I. Pal (Eds.), Pandemic risk, response, and resilience (pp. 457–469). Elsevier. https://doi.org/10.1016/B978-0-323-99277-0.00016-4

Waluyo, B. (2019). Examining Thai First-Year University Students’ English Proficiency on CEFR Levels. The New English Teacher, 3(2), 51–71.

Wuttisrisiriporn, N., & Usaha, S. (2019) The Development of a Localized ELT Textbook Evaluation Checklist: A Case Study from Thailand. ThaiTesol Journal, 32(2), 46–64. https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1245561.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-11

ฉบับ

บท

Research Articles