ความจำเป็นในการที่ต้องมีประมวลกฎหมายขนส่งและโลจิสติกส์ ในประเทศไทย

Main Article Content

เกียรติกำจร มีขนอน

บทคัดย่อ

          ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำประมวลกฎหมายขนส่งและโลจิสติกส์ขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยปรับปรุงจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีอยู่เดิม หรือเป็นบรรพหนึ่งในประมวลกฎหมายพาณิชย์ที่ร่างแยกออกมาต่างหาก หรือแยกออกมาจากประมวลกฎหมายพาณิชย์เป็นเอกเทศ เนื่องจากต้องมีการบูรณาการกันระหว่างการขนส่งทางบก การขนส่งทางราง การขนส่งทางแม่น้ำลำคลอง การขนส่งทางทะเลและพาณิชย์นาวี และการขนส่งทางอากาศ เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของการขนส่งและโลจิสติกส์ของโลกยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจึงจำเป็นต้องรวบรวมกฎหมายการขนส่งที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าเป็นประมวลกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับพลวัฒน์ทางธุรกิจในปัจจุบัน กฎหมายที่กระจัดกระจายไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี แคนาดา สิงค์โปร์และออสเตรเลียมีกฎหมายด้านนี้ที่ครอบคลุมทุกประเด็น และทันสมัย จึงควรจะนำบทบัญญัติจากกฎหมายของประเทศเหล่านี้มาใช้ในการร่างประมวลกฎหมายขนส่งและโลจิสติกส์


          อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีกฎหมายประกันภัยทางทะเล กฎหมายประกันภัยทางอากาศ กฎหมายประกันภัยการขนส่งทางแม่น้ำลำคลอง กฎหมายประกันภัยการขนส่งทางราง และกฎหมายประกันภัยการขนส่งต่อเนื่องหลายวิธี จึงจำเป็นที่จะต้องนำบทบัญญัติการประกันภัยการขนส่งทุกประเภทและการประกันภัยการขนส่งต่อเนื่องหลายวิธีเข้ามารวมอยู่ในประมวลกฎหมายขนส่งและโลจิสติกส์ที่จะร่างขึ้นนี้ด้วย

Article Details

How to Cite
มีขนอน เ. (2022). ความจำเป็นในการที่ต้องมีประมวลกฎหมายขนส่งและโลจิสติกส์ ในประเทศไทย. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 4(3), 1–17. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/1693
บท
บทความวิชาการ

References

เกียรติกำจร มีขนอน. (2565). ความจำเป็นที่ต้องแยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ออกจากกันในประเทศไทย. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 4(1), 65.

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (11 กรกฎาคม 2565). พรบ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494. เข้าถึงได้จาก www.railway.or.th

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. (11 กรกฎาคม 2565). ร่าง พรบ.การขนส่งทางราง พ.ศ.... เข้าถึงได้จาก www.mrta.co.th

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (11 กรกฎาคม 2565). กฎกระทรวงคมนาคมเรื่องความรับผิดและประกันภัยการขนส่งทางอากาศ. เข้าถึงได้จาก www.caat.or.th

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (11 กรกฎาคม 2565). พรบ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497. เข้าถึงได้จาก www.caat.or.th

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (11 กรกฎาคม 2565). พรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522. เข้าถึงได้จาก https://www.krisdika.go.th

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (11 กรกฎาคม 2565). พรบ.การขนส่งหลายต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548. เข้าถึงได้จาก https://www.krisdika.go.th

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (11 กรกฎาคม 2565). พรบ.การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ.2558. เข้าถึงได้จาก https://www.krisdika.go.th

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2565, กรกฎาคม 11). พรบ.รับขนของทางทะเล พ.ศ 2534. Retrieved from https://www.krisdika.go.th

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (11 กรกฎาคม 2565). พรบ.ส่งเสริมพาณิชย์นาวี พ.ศ.2521. เข้าถึงได้จาก https://www.krisdika.go.th

Bundesamt für Justiz. (2022, April 22). Handelsgesetzbuch (HGB). Retrieved from www.gesetze-im-internet.de/englisch_hgb/index.html

Civil Aviation Safety Authority. (2022, July 11). Air carrier liability and insurance. Retrieved from www.casa.gov.au

Dutch Civil Law. (2022, April 22). Dutch Civil Code. Retrieved from www.dutchcivillaw.com/civilcodegeneral.htm

LégisQuébec. (2022, April 22). Code Civil du Québec. Retrieved from http://legisquebec.gouv.qc.ca/fr/document/lc/CCQ-1991

M A I H Hoeks. (2009). Multimodal transport law: The law applicable to the multimodal contract for the carriage of goods. Rotterdam: Erasmus Universiteit Rotterdam.

Singapore Statues Online. (2022, July 11). Singapore's multimodal transport act 2021. Retrieved from https://sso.agc.gov.sg