มาตรการทางกฎหมายในการขึ้นทะเบียนผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาวิเคราะห์หลักการและแนวคิดทางกฎหมายในการขึ้นทะเบียนผู้เสพยาเสพติด การนำมาตรการทางกฎหมายในการขึ้นทะเบียนผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทย และศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างของการนำมาตรการกฎหมายในการขึ้นทะเบียนผู้เสพยาเสพติดในต่างประเทศ ที่สามารถขึ้นทะเบียนผู้เสพยาเสพติดได้สำเร็จและนำไปสู่มาตรการในการป้องกัน ช่วยเหลือ และบำบัดรักษา ผู้เสพยาเสพติดและสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ดังที่ปรากฏในกฎหมายและการบังคับใช้ของประเทศต่างๆ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชอาณาจักรเดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ แคนนาดา สหราชอาณาจักร เป็นต้น
จากการศึกษาพบว่า การขึ้นทะเบียนผู้เสพยาเสพติด สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ที่เสพยาเสพติดและจำนวนผู้เสพยาเสพติดได้อย่างชัดเจน ซึ่งนำไปสู่เงื่อนไขการช่วยเหลือและการบำบัดรักษาทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ถูกต้อง อันมีผลต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เสพยาเสพติด รวมถึงสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนในสังคม ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ในสังคมที่มีการจัดระเบียบได้อย่างสงบเรียบร้อย จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้เสพเป็นผู้ป่วย ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้เสพยาเสพติดต้องมีการขึ้นทะเบียนผู้เสพยาเสพติดกับรัฐ และการเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาทางการแพทย์และสาธารณสุข และอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือกับงานการปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ครอบครัว และองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนอื่นๆ ด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กำจัด พ่วงสวัสดิ์. (2561). การเสพติด. วารสารกำลังใจ, 6(2), 33-35.
จิรวุฒิ ลิปิพันธ์. (2562). การลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติด. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิรวุฒิ ลิปิพันธ์ และคณะ. (2563). มาตรการลดความรุนรงในการบังคับคดียาเสพติดประเภทต่างๆ ที่ใช้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(110), 201-215.
อิงครัต ดลเจิม และคณะ. (2563). การพัฒนากฎหมายสาธารณสุขในการอภิบาลผู้ป่วยจากยาเสพติดในวัยรุ่น.
Barnet P.G. (1999). The Cost Effectiveness of Methadone Maintenance as a Health Care Intervention. Addiction, 94(4), 479-488.
Dagmar Hedrich. (2004). European report on drug consumption rooms. Brussels, Belgium: EU.
EMCDDA. (2002). Early Warning System on New Synthetic Drugs: Guidance on Implementation. EU.: Brussels, Belgium.
EMCDDA. (2018). Germany Drug Report 2018. Lisbon: European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction. Brussels, Belgium: EU.
General Assembly. (2016). Resolution adopted by the General Assembly. New York, USA: UN.
Steve Sussman. (2017). Substance and Behavioral Addiction:Concept, Causes, and Cures. USA: Cambridge University.