เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • พิจารณาประเภทของบทความ ขอบเขตของวารสาร และรูปแบบการเขียนบทความ ให้ครบถ้วน ตรวจสอบเนื้อหาของบทความที่เขียนขึ้นว่าเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้นของวารสารหรือไม่
  • บทความนั้นจะต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากวารสารหรืองานประชุมวิชาการอื่น และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น บทคัดย่อ ผลการวิจัย หรือบทความฉบับเต็มในวารสารหรือเอกสารสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ
  • ผู้แต่งจะต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) หรือคัดลอกผลงานของตนเอง (Self-plagiarism)
  • การจัดส่งบทความจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงานของวารสาร
  • ผู้แต่งจะต้องส่งบทความเป็นไฟล์ Word ตามเทมเพลสของวารสาร และต้องส่งพร้อมกับ "แบบฟอร์มส่งบทความ" โดยอัพโหลดไฟล์ผ่านระบบ ThaiJo
  • การดำเนินงานวารสารจะต้องปฏิบัติตามกรอบจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) อย่างเคร่งครัด

การพิจารณาเบื้องต้น
ในการพิจารณาบทความเบื้องต้น ทางวารสารจะพิจารณาประเภทของบทความ ขอบเขตของวารสาร และรูปแบบการเขียนบทความ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ประเภทของบทความ วารสารรับพิจารณาประเภทผลงานทางวิชาการ ดังนี้
1) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความทางวิชาการที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้อง มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่องานวิชาการเพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ประกอบด้วย บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ที่มีหัวข้อเกี่ยวข้องกับการปูพื้นฐานเรื่องที่จะกล่าวถึง ส่วนที่ 2 ที่มีหัวข้อเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้เหตุผล วิพากษ์ วิจารณ์ การเพิ่มประเด็นโต้แย้ง จะต้องเป็นไปตามหลักการ ทษฎี และมีหลักฐานอ้างอิงตามหลักวิชาการ ส่วนที่ 3 ที่มีหัวข้อเกี่ยวกับการนำเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ บทสรุป กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง

2) บทความวิจัย (Research Article) เป็นงานวิจัยที่มีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย มีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหา และผลงานวิจัยพบองค์ความรู้ใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการหรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ได้ ประกอบด้วย บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง

2. ขอบเขตของวารสาร วารสารรับพิจารณาสาขาของบทความตามขอบเขตของวารสาร ดังนี้
- ศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ บทความในสาขาดนตรี ประวัติศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ ทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง ภาษาและภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะทั่วไป มนุษยศาสตร์ ศาสนศึกษา บทความที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งที่อยู่ในตัวบุคคล สถานที่ และประสบการณ์ และบทความภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านศิลปกรรมและโบราณคดี ด้านดนตรีและสุนทรียศาสตร์ ด้านชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการ
- สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ บทความที่มีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการบูรณาการศาสตร์เพื่อยกระดับคุณภาพวิถีชีวิตของชุมชน เมือง สังคม ประเทศชาติ และสากล
- การศึกษาและบูรณาการศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน ได้แก่ บทความที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ หลักสูตร พื้นที่ทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับอนุรักษ์ละสืบสาน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ บทความที่เป็นการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเป็นฐาน มีกระบวนการสืบทอดและมุ่งเน้นการสื่อความหมาย ถ่ายทอดเรื่องราวทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ และความเชื่อ ผ่านสินค้า บริการทางวัฒนธรรม จนเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพื้นที่และเกิดรายได้ 

3. รูปแบบการเขียนบทความ วารสารรับพิจารณาเฉพาะบทความที่เขียนตามรูปแบบที่วารสารกำหนด Click

4. เงื่อนไขการตีพิมพ์เผยแพร่กรณีความซ้ำซ้อนกับเอกสารที่ถูกเผยแพร่ไปแล้ว
    1. บทความวิชาการ ตรวจสอบด้วย CopyCatch จะต้องน้อยกว่า 20.0% หรือตรวจสอบด้วย อักขราวิสุทธิ์ จะต้องน้อยกว่า 20.0%  
    2. บทความวิจัย ตรวจสอบด้วย CopyCatch จะต้องน้อยกว่า 20.0% หรือตรวจสอบด้วย อักขราวิสุทธิ์ จะต้องน้อยกว่า 20.0%
5. ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในทุกขั้นตอนการทำงานของวารสาร

6. วิธีการส่งบทความในระบบวารสาร
กรุณาดูภาพประกอบ