บทบาทบุคลากรทีมศาสนพิธีในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติงานของทีมศาสนพิธีในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นการรวบรวมองค์ความรู้โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และถอดบทเรียนเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของบุคลากรด้านศาสนพิธี ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ทีมศาสนพิธี” ผลการศึกษาจึงพบว่า ศาสนพิธีเป็นแบบแผนปฏิบัติที่มานำมาซึ่งกระบวนการจัดกิจกรรมทางศาสนพิธีที่มีระบบการจัดการเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ สังคมให้การยอมรับและนับถือปฏิบัติด้วยความศรัทธา บุคคลผู้ทำหน้าที่ในการดำเนินการให้ศาสนพิธีนั้น ๆ สำเร็จลุ่ลวงไปด้วยดีนั้น คือ ศาสนพิธีกรผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมให้ศาสนพิธีมีส่วนร่วมสร้างระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก ดำเนินการไปตามลำดับและบรรลุตามวัตถุประสงค์ มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถนำมาซึ่งองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนพิธีหลากหลาย และองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดสู่กิจกรรมในรูปแบบศาสนพิธีนั้นจำเป็นต้องมีประสบการณ์ความรู้ความสามารถจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ควรมีการจัดทำองค์ความรู้ศาสนพิธีสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดให้นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจได้รับประโยชน์ จึงจะเป็นศาสนพิธีที่ทรงคุณค่าแก่สังคมอุดมปัญญาได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) หรือค่าธรรมเนียมอื่นใด และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
กรมการศาสนา. (2556). คู่มือการปฏิบัติศาสนพิธีเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
กรมการศาสนา. (2563). ศาสนพิธีและมารยาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
กองบริหารงานบุคคล. (2565). ข้อบังคับว่าด้วยสมรรถนะ ความรู้ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ. 2565 [Online]. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565, จาก https://srru.ac.th/personnel/document/138.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).
พิทักษ์ แสนกล้า. (2564). โครงการทอดกฐินสามัคคี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประจำปี พ.ศ. 2564 [ภาพถ่าย]. 13 พฤศจิกายน 2564. สุรินทร์ : วัดโพธิ์ศรี บ้านผือ ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565ก). กฎกระทรวงมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม พ.ศ. 2565. เล่มที่ 139 ตอนที่ 20 ก. 28 -31. 31 มีนาคม 2565.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565ข). กฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. เล่มที่ 139 ตอนที่ 20 ก. 12 – 19. 31 มีนาคม 2565.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ : วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สาขาศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม [Online]. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://osstat.nso.go.th/statv5/list.php?id_branch=4.