การพัฒนาระบบสารสนเทศพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้โบราณ พระพรหมวชิรญาณ วัดอาม็อง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้โบราณ พระพรหมวชิรญาณ วัดอาม็อง และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้โบราณ พระพรหมวชิรญาณ วัดอาม็อง การวิจัยนี้ได้ใช้กระบวนการพัฒนาระบบโดยใช้วิธีการอไจล์แบบสกรัมสำหรับการออกแบบและวิเคราะห์ระบบ และพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นโดยแพลตฟอร์มแบบไม่เขียนโค้ดเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์ 5 รูป นักท่องเที่ยว 10 คน และนักวิชาการ 3 คน รวมจำนวน 18 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ และ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 โมดูลหลัก ได้แก่ เกี่ยวกับเรา การเดินทาง ประวัติพระพุทธรูปไม้ การเรียนรู้จดจำใบหน้า วิธีการแท็กใบหน้า และพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรสส์ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยภาพรวมมีค่าอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.61) โดยพบว่าด้านความถูกต้องของเนื้อหา มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.43) องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ คือ การออกแบบและวิเคราะห์ระบบโดยใช้วิธีการอไจล์แบบสกรัม มีผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ เน้นให้ทีมงานพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ควบคู่กับการใช้แพลตฟอร์มแบบไม่เขียนโค้ดส่งผลให้ใช้นักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนน้อย แต่ระบบสารสนเทศยังคงมีประสิทธิภาพมาก ตอบสนองความต้องการกับผู้ใช้งาน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) หรือค่าธรรมเนียมอื่นใด และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
กานดา พูนลาภทวี. (2530). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
ญาณินทร์ รักวงศ์วาน. (2554). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกับการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น. ดำรงวิชาการ, 10(1), 1 - 24.
เดอะโกรทมาสเตอร์. (2563). No-Code / Low-Code Platform คืออะไร? แพลตฟอร์มแห่งอนาคตที่ทุกคนควรรู้จักไว้ ในปี 2021 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565, จากhttps://thegrowthmaster.com/ blog/no-code-low-code-platform.
นัยนา อรรจนาทร, อำนวย อรรจนาทร, อรนิต ประนมไพร. (2559). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนในจังหวัดเลย :กรณีศึกษาตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(ฉบับพิเศษ), 377 - 388.
นิติกร ภู่ศรี และ ชนนาถ กฤตวรกาญจน์. (2561). การประยุกต์ใช้การจัดการโครงการแบบอไจล์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์. ใน งานประชุมสัมมนาทางวิชาการวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 ปี 2561, 16 กรกฎาคม 2561. 1 – 4. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปักหมุดเมืองไทย. (2563). พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้โบราณ บ้านอาม็อง หมู่ที่ 13 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565, จาก https://pukmudmuangthai.com/detail/1874.
พีรพัฒน์ จันทรครอบ, ศุภชัย ศรกำหนด, ศศิธร สุทธิยานุช, สุพัตรา วะยะลุน, ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2564). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในหนังสือท่องเที่ยวหมู่บ้านอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวกูยจังหวัดสุรินทร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชภัฏสุราษฎร์ธานีวิจัย ครั้งที่ 16”, 16 - 18 ธันวาคม 2564. 431 - 440. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เพ็ญประภา บุตรละ, โอฬาร โรจนพรพันธุ์, พรชัย มงคลนาม. (2558). ทักษะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกทีมพัฒนาในสกรัม. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 11(2), 34 - 41.
วิสุตร์ เพชรรัตน์, เตชิตา สุทธิรักษ์, กุลวดี จันทร์วิเชียร, อรรณพ ขำขาว, พันธนันท์ อธิตัง. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 109 - 123.
สายชล ปัญญชิต. (2562). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : บทบาททางศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาสู่ความยั่งยืน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(2) : 113 - 128.
Cockburn, A. and Highsmith, J. (2001). Agile Software Development : The People Factor. Computer, 34(11), 131 - 133. https://doi.org/10.1109/2.963450.
Farshidi, S., Jansen, S., Fortuin, S. (2021). Model-Driven Development Platform Selection : Four Industry Case Studies. Software and Systems Modeling, 20, 1525 – 1551.
Fowler, M. and Highsmith, J. (2001). The Agile Manifesto [Online]. Retrieved May 15th, 2022, from http://www.awslad.com/wp-content/uploads/2010/01/The_Agile_Manifesto_SDMagazine1.pdf.
Rubin, K. S. (2012). Essential Scrum : A Practical Guide to the Most Popular Agile Process. USA : Addison-Wesley.
Schwaber, K. and Sutherland, J. (2013). The Scrum Guide [Online]. Retrieved May 15th, 2022, from https://scrumguides.org/docs/scrumguide/v1/Scrum-Guide-US.pdf.
Turban, E., Volonino, L., Wood, G. (2013). Information Technology for Management : Advancing Sustainable, Profitable Business Growth. (9th Edition). USA : Courier Kendallville.
Viscardi, S. (2013). The Professional Scrum Master's Handbook. England : Packt Publishing.