การศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมสื่อสารดวงวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรที่อาศัยในเขตตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ยโสธารา ศิริภาประภากร
สุริยา คลังฤทธิ์
สำเริง อินทยุง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมสื่อสารดวงวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรที่อาศัยในเขตตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือในการวิจัย 3 แบบ คือ แบบบันทึกการสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูมะม็วด ผู้ป่วยที่ได้รับการเจ็บป่วยทางกายและเป็นผู้มารับบริการจากอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรม ญาติของผู้ป่วย พระภิกษุสงฆ์ ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไปรวมทั้งสิ้น จำนวน 18 รูป/ คน ผลการวิจัยพบว่า การคงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีพบกลุ่มชาติพันธุ์เขมรกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ โดยความเชื่อเรื่องผีส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่รายละเอียดการปฏิบัติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ฐานคติที่มีความเชื่อในดวงวิญญาณยังมีการสืบทอด รักษาขนบธรรมเนียมเอาไว้ ผ่านทางพิธีกรรมการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณในเทศกาลต่าง ๆ ของชุมชน และครัวเรือน สำหรับพิธีกรรมสื่อสารดวงวิญญาณ พบว่า “มะม็วด” ยังคงดำเนินการประกอบพิธีกรรมบูชาตามแบบที่ตนได้รับการถ่ายทอดมา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Bookmark and Share

References

ธยายุส ขอเจริญ, พระครูโกศลศาสนวงศ์, พระธงชัย ขนฺติธโร, สุทัศน์ ประทุมแก้ว. (2563). พลวัตวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา: คติความเชื่อ และการละเล่น. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(3), 179 - 191.

นิโรธ ศรีมันตะ และ นัฎฐิกา นวพันธุ์. (2562). คติความเชื่อเรื่องผีสู่รูปแบบพื้นที่ว่างชุมชนและเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นชาวเขมรถิ่นไทยในบริบทพื้นที่อีสานใต้. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 28(1), 35 - 49.

ประทีป แขรัมย์. (2535). พิธีกรรม มม็วด ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเขมร : ศึกษากรณีบ้านตะโกราย ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระเฑียรวิทย์ อตฺตสนฺโต. (2548). การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของร่างทรง: กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. พุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนัด จารุวณฺโณ (ยีรัมย์), สงวน หล้าโพนทัน, พระครูวินัยธรธรรมรัตน์ เขมธโร. (2564). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำบุญแซนโฏนตา ของชาวจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(2), 301 - 315.

พระปลัดวีระชนม์ เขมวีโร, ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, มณทิรา สะแกทอง, รังสิทธิ วิหกเหิน, สงวน หล้าโพนทัน. (2560). คติความเชื่อที่ปรากฏในพิธีกรรมของชาวจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 123 - 132.

พระปลัดเสกสรร ธีรปญฺโญ, ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม, พระราชวิมลโมลี. (2564). ศึกษาอิทธิพลความเชื่อในการรักษาโรคด้วยพิธีกรรมโจลมะม๊วตของชาวพุทธไทย เชื้อสายเขมร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฎอง แหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 8(2), 75 - 86.

พระมหาวีระ สุขแสวง. (2550). มะม็วด : พิธีกรรมและความเชื่อของกลุ่มคนพูดภาษาเขมรถิ่นอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเขมรศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระศิริชัย ปภสฺสโร, ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม, พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ. (2565). ความเชื่อมะม๊วตของชุมชนชาวพุทธเชื้อสายเขมร ในตำบลกันทรารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 13(1), 59 - 66.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2557). ศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมการเข้าทรงของชาวพุทธ : กรณีศึกษาชุมชน บ้านศาลาสามัคคี ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 1(1), 207 - 218.

ยโสธารา ศิริภาประภากร, เกริกวุฒิ กันเที่ยง, พระครูสาธุกิจโกศล, สุริยา คลังฤทธิ์, เฉลิมเกียรติ แก้วหอม. (2564). มะม้วต พิธีกรรมการสื่อสารกับดวงวิญญาณของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร. วารสารพัฒนศาสตร์, 4(1), 74 – 97.

สารภี ขาวดี. (2554). การศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรม “การโจลมะม็วด”: กรณีศึกษาจากชุมชนเขมร หมู่บ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 7(2), 150 - 188.