บทบาทตัวละครในละครโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลียนแบบของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ

Main Article Content

พรเทพ เจริญกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรของนักศึกษา ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ และศึกษาการเลียนแบบด้านพฤติกรรมจากบทบาทตัวละครในละครโทรทัศน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัย          ราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ จากนักศึกษาภาคปกติที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,200 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากวิธีการหาค่าสูตรทาโรยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการเปิดรับชมสื่อละครโทรทัศน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการส่วนใหญ่รับชมสื่อละครโทรทัศน์ผ่านแอพลิเคชันโทรศัพท์มือถือมากกว่ารับชมผ่านโทรทัศน์ ใช้ระยะเวลาในการรับชมสื่อละครโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง – 1 ชั่วโมงครึ่ง มีเหตุผลที่รับชมสื่อละครโทรทัศน์เพื่อนำประเด็นจากละครไปสนทนาต่อ มากที่สุด มีปัจจัยในการเลือกชมสื่อละครโทรทัศน์ที่เนื้อหาละคร/ บทละครโทรทัศน์ มากที่สุด นักศึกษาส่วนใหญ่มีบทบาทการแสดงของตัวละครที่ชื่นชอบ คือ การแต่งกาย การแต่งหน้าของตัวละคร ในภาพรวมของผลการเลียนแบบพฤติกรรมจากการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ พบว่า นักศึกษาเลียนแบบพฤติกรรมการแต่งหน้า ทำผมตามนักแสดง มีการออกกำลังเพื่อให้หุ่นดีแบบนักแสดง และชอบพูดจาด้วยคำคมสอนใจ นอกจากนี้ผลการศึกษาการเลียนแบบด้านพฤติกรรมจำแนกตามลักษณะประชากรและพฤติกรรมการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อการเลียนแบบด้านพฤติกรรมจากบทบาทการแสดงของตัวละครแตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Bookmark and Share

References

กรกฎ จำเนียร และ เมธาวี จำเนียร. (2560). การศึกษาการเปิดรับสื่อและความต้องการสารคดีทางวัฒนธรรมทางโทรทัศน์ชุมชนของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 11(2), 197 - 209.

กัญจน์ดามาศ โกพล และ สุพัชรจิต จิตประไพ. (2556). บทบาทของละครย้อนยุคที่มีต่อการสืบสานและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 14(26), 57 - 69.

ตฤณห์ โพธิ์รักษา. (2565). อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชน. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 5(2), 97 - 116.

วรชัย ทองไทย. (2562). การเลียนแบบ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://www.theprachakorn.com/newsDetail.php?id=191.

วัชรี ดำศรี. (2543). พฤติกรรมการรับสื่อโทรทัศน์ของเด็กในครอบครัวที่มีอาชีพประมง. วิทยานิพนธ์. นิเทศศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชิตโชค อินเอียด. (2560). แนวทางการกำกับการนำเสนอเนื้อหาละครโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน. วารสารวิชาการ กสทช., 1(1), 288 - 315.

อุริษา งามวุฒิวร. (2553). การเปิดรับสื่อละครโทรทัศน์ การรู้เท่าทันสื่อ และความคิดเห็นต่อความนิยมทางเพศ และการเลียนแบบพฤติกรรมชายรักชายของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Roberts, D. F., Henriksen, L., Foehr, U. G. (2004). Adolescents and Media. In Handbook of Adolescent Psychology, Richard M. Lerner, R. M. and Steinberg, L., Editor. New Jersey : John Wiley & Sons. 487 - 521.

Staff, J., Mortimer, J. T., Uggen, C. (2004). Work and Leisure in Adolescence. In Handbook of Adolescent Psychology, Richard M. Lerner, R. M. and Steinberg, L., Editor. New Jersey : John Wiley & Sons. 429 - 450.