ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกกล้วยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกกล้วยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยชี้ให้เห็นลักษณะและความสำคัญของศิลปะการแทงหยวกที่มีต่อชาวไทยพวนอำเภอบ้านผือ ผลการศึกษาพบว่า ศิลปะการแทงหยวกกล้วยคือการฉลุกาบกล้วยเป็นลวดลายเพื่อนำไปสร้างเป็นปราสาทผึ้งและหอปราสาท ใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย ได้แก่ ประดับเมรุเผาศพ อุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ล่วงลับในบุญออกพรรษาและบุญห่อข้าว มีลวดลายแบ่งได้ 2 ประเภท (1) ลวดลายดั้งเดิม ได้แก่ ลายฟันปลา ฟันสาม ดอกจิก ตีนเต่า/ ผักแว่น และ (2) ลวดลายประยุกต์ ได้แก่ ลายโง่/ โหง่ แขนนาง/ วันแล่น และลายนาค วัสดุและอุปกรณ์สำคัญคือ ต้นกล้วยตานี และมีดปลายแหลมสำหรับฉลุขนาดต่าง ๆ ปัจจุบันมีปราชญ์ชุมชนที่สืบทอดองค์ความรู้เพียง 1 คน คือ พ่อสมคิด ศรีสว่าง ซึ่งอยู่ให้ความรู้ประจำ ณ พิพิธภัณฑ์ไทยพวนอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี คุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกกล้วยที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนอำเภอบ้านผือมีหลายด้าน ได้แก่ คุณค่าในเชิงช่างและงานฝีมือ คุณค่าในเชิงอัตลักษณ์กลุ่มชน คุณค่าเชิงสังคม คุณค่าเชิงปรัชญา/ จิตวิญญาณ/ โลกทัศน์ และคุณค่าด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปัจจุบันภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกกล้วยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต โดยเฉพาะการขาดผู้สืบทอด จึงเสนอแนวทางการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ ได้แก่ การจัดการองค์ความรู้ให้เป็นหมวดหมู่ การประยุกต์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การประชาสัมพันธ์ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาให้สามารถนำไปใช้ในโอกาสอื่นได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) หรือค่าธรรมเนียมอื่นใด และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์, จุรีรัตน์ ทวยสม, ระพีพรรณ จันทรสา, ณัฏฐานุช เมฆรา, ชุติพงศ์ คงสันเทียะ. (2566). เฮือนไทยพวน : อนุรักษ์เพื่อการสร้างสรรค์บนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, 4(1), 25 - 44.
กรมศิลปากร. (2553). งานช่างพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกศรี วิวัฒนปฐพี, โสภา ชัยพัฒน์, บงกช เจนชัยภูมิ, มาลินี ผลประเสริฐ, เดือนฉาย ผ่องใส. (2565). อัตลักษณ์และพื้นที่ทางสังคม : ภาพสะท้อนวิถีชีวิตไทพวนในภาคอีสาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(10), 62 - 77.
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2559). กลุ่มชาติพันธุ์ในโลกสมัยใหม่. ใน โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน, วสันต์ ปัญญาแก้ว, บรรรณาธิการ. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.
จันทิพา มีชัย. (ม.ป.ป.). นิทานพื้นบ้าน อุสา-บารส. อุดรธานี: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุดรธานี.
ชาคริต สิทธิฤทธิ์. (2559). จับต้องได้-จับต้องไม่ได้: ความไม่หลากหลายในความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(2), 141-160.
ชุติพงศ์ คงสันเทียะ. (2566ก). ชมรมไทยพวนบ้านผือ และพิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี [ภาพถ่าย]. 23 พฤษภาคม 2566. อุดรธานี : บ้านหัวคู ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.
ชุติพงศ์ คงสันเทียะ. (2566ข). การแทงหยวกกล้วยเป็นหอปราสาทของชาวไทยพวนบ้านผือ [ภาพถ่าย]. 23 พฤษภาคม 2566. อุดรธานี : บ้านหัวคู ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.
ชุติพงศ์ คงสันเทียะ. (2566ค). วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้งานศิลปะการแทงหยวก [ภาพถ่าย]. 23 พฤษภาคม 2566. อุดรธานี : บ้านหัวคู ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.
ชุติพงศ์ คงสันเทียะ. (2566ง). การเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกกล้วยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนบ้านผือ [ภาพถ่าย]. 23 พฤษภาคม 2566. อุดรธานี : บ้านหัวคู ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.
ชูศักดิ์ ไทพาณิชย์. (2555). ศิลปะการแทงหยวก. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์.
พนัชกร พิทธิยะกุล, พรพันธุ์ เขมคุณาศัย, ณัฐพงศ์ จิตรนิรัตน์, พรไทย ศิริสาธิตกิจ. (2564). การอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอด: “ภูมิปัญญาผ้าทอเกาะยอผ่านหลักสูตรท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 193 – 203.
ไพบูลย์ วิริยะพัฒนไพบูลย์. (2553). ประวัติศาสตร์พวนมาจากไหน. นนทบุรี : เลิศชัยการพิมพ์2.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2557). ภูมิปัญญาการแทงหยวกทำปราสาทผึ้ง [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566, จาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/localinformation/?p=1257
สุรัสวดี พรมรินทร์, คัมภีร์ คำเรืองศรี, สิริยากร ดารารัตน์, ชนากานต์ เจริญสุข, ดาวเรือง พรเจริญ, ชลธิชา แข็งขัน. (2566). ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ชุด สัตมวาร ใน โครงการสอบผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี : สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อรศิริ ปาณินท์. (2554). การเปลี่ยนถ่ายสัมภาระทางวัฒนธรรมของชาวพวน: จากเชียงขวางสู่ลุ่มน้ำภาคกลางของไทย. วารสารหน้าจั่วว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย, 7, 133 - 164.
อุทุมพร รอดขันเมือง และ สุรพล เนสุสินธุ์. (2564) การขับพวนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 158 - 174.
ฮันนี่ แอนด์ เฟรนด์. (2565). รายการ “เที่ยวละไม ไทยแลนด์เวิลด์” ตอน เยือนถิ่นไทยพวน ชวนเที่ยวบ้านผือ อุดรธานี ตอนที่ 2 ออกอากาศวันที่ 11 ธันวาคม 2565 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566, จาก https://www.youtube.com/watch?v=N2CwKyR-zZQ.
บุคลานุกรม
ทิวาพร แสงวิจิตร, รองประธานชมรมไทยพวนบ้านผือ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชุติพงศ์ คงสันเทียะ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566.
สมคิด ศรีสว่าง, ปราชญ์ชุมชน (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชุติพงศ์ คงสันเทียะ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566.