การศึกษาพิธีกรรมเลี้ยงแถน บ้านห้วยปาง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระศักดิ์นรินทร์ ปยุตฺตปุญโญ
พระสมมิตร ฐานุตฺตโร
เอกชัย สร้อยจิตร์
ยโสธารา ศิริภาประภากร
เกริกวุฒิ กันเที่ยง
สุริยา คลังฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพิธีกรรมและเชื่อในการเลี้ยง “แถน” ของกลุมชาวไทยลาวในพื้นที่บ้านห้วยปาง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ผ่านกระบวนการลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ชุมชนกลุ่มชาวไทยลาวเกี่ยวกับฐานคติความความเชื่อในเทพเจ้าอยู่บนสวรรค์ และมีบริวารคอยรับใช้และรับคำสั่งให้มาดูแลและช่วยเหลือมนุษย์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต ด้านการเกษตร ด้านการครองเรือนและการอยู่ร่วมกันอย่างมีกฎเกณฑ์ ด้านกฎหรือการลงโทษ ด้านการรบและการดูแลชุมชน และการประพฤติตนและการปฏิบัติตามความเชื่อนี้ชุมชนจะมีกฎและจารีตที่ต้องถือปฏิบัติตาม เนื่องจากฐานคติความเชื่อมีต่ออำนาจเหนือธรรมชาติและเทพเจ้าที่อยู่บนสวรรค์จึงมีการจัดพิธีกรรมเพื่อสื่อสารถึงเทพเจ้า และบริวารของเทพเจ้าซึ่งมีบทบาทหน้านำสารจากเบื้องบนมาสู่ผู้ปฏิบัติ และยังสามารถช่วยเหลือบำบัดรักษาความทุกข์ร้อนของมนุษย์ด้วย ผลการศึกษาพิธีกรรมและเชื่อ พบว่า พิธีกรรมจะเป็นการบำบัดรักษาและการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ รูปแบบของพิธีกรรมจะเป็นการเซ่นไหว้ มีองค์ประกอบของ เครื่องบูชา ดอกไม้ อาหาร เสื้อผ้าเครื่องประดับ และอาวุธ สำหรับแนวทางการอนุรักษ์และสืบทอด ดังนี้ (1) ควรกระตุ้นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีด้านความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชน มีการนำองค์ความรู้ไปเข้าสอนในสถานศึกษา (2) ควรมีการสร้างนวัตกรรมความเชื่อและเพิ่มมูลค่าของสัญลักษณ์ที่ปรากฏในพิธีกรรม เช่น ดาบ ช้าง  และม้า ซึ่งทำจากไม้ (3) ควรให้พิธีกรรมและความเชื่ออยู่กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนเนื่องจากเป็นสิ่งที่สร้างความสุขและความสงบในชุมชนด้วยข้อห้ามและโทษของผู้ทำผิดเป็นกรอบของสังคม ซึ่งพิธีกรรมและความเชื่อเป็นฐานคติที่ควบคุมจิตและพฤติกรรมของกลุ่มชาวไทยลาวได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Bookmark and Share

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษนันท์ แสงมาศ และ ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2562). พิธีแซนอาหยะจูยประจำปีของปราสาทบ้านโพธิ์ศรีธาตุ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 4(1), 110 – 124.

จตุพล ทองสกล. (2553). การดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทดำ บ้านหัวถนน ตำบลคอนพุทรา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เดนนี่ ซาร์เจน. (2542). พิธีกรรมของโลก = Global Ritualism. แปลโดย ทิพยอาภา. กรุงเทพฯ : จูนพับลิชชิ่ง.

นลิน สินธุประมา. (2562). การเดินทางของขวัญ [ออนไลน์]. คนเมื่อ 22 กุมภาพันธุ 2564, จาก https://m.museumsiam.org/da-detail2.php?MID=3&CID=177& CONID=3391&SCID=242.

บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2550). การดำรงอยู่ของหอเจ้าบ้านในเขตชุมชนเมือง กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2555). ความเชื่อเรื่องพระยาแถนของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมกลุ่มวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 29(3), 1 - 17.

ปริญญา จงหาญ. (2553). การศึกษาพิธีกรรมแฮผกาของชาวบ้านดมและบ้านเทพอุดม ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

พระศักดิ์นรินทร์ ปยุตตปุญโญ. (2564ก). ลักษณะหิ้งแถนที่ประทับดวงวิญญาณ [ภาพถ่าย]. 15 เมษายน 2564. สุรินทร์ : บ้านห้วยปาง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์.

พระศักดิ์นรินทร์ ปยุตตปุญโญ. (2564ข). พิธีกรรมเลี้ยงแถนบ้านห้วยปาง [ภาพถ่าย]. 15 เมษายน 2564. สุรินทร์ : บ้านห้วยปาง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์.

พระศักดิ์นรินทร์ ปยุตตปุญโญ. (2564ค). ขั้นตอนการเชิญดวงวิญญาณแถน [ภาพถ่าย]. 15 เมษายน 2564. สุรินทร์ : บ้านห้วยปาง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์.

พระศักดิ์นรินทร์ ปยุตตปุญโญ. (2564ง). ลักษณะพิธีกรรมช่วงประกอบพิธี [ภาพถ่าย]. 15 เมษายน 2564. สุรินทร์ : บ้านห้วยปาง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทพบริบาลแห่งชนเผ่ากับกลุ่มชาวไทยกวย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฏองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 4(2), 7 – 12.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2564). ศิลปวัฒนธรรมประเพณีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. สุรินทร์ : ก๊อปปี้เซอร์วิส.

วิลาสินี ศรีนุเคราะห์. (2543). ปันโจลกรณีศึกษาพิธีการไหว้ครูเพื่อสืบทอดพิธีกรรมอันเนื่องมาจากความเชื่อของชาวไทยเขมรสุรินทร์. รายงานการวิจัย. สุรินทร์ : สถาบันราชภัฏสุรินทร์.

วุฒิชัย สว่างแสง และ พุทธรักษ์ ปราบนอก. (2564). ขวัญในความเชื่อเรื่องแถน. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 1 - 24.

สมพร เกษมสุขจรัสแสง. (2526). การผสมทางวัฒนธรรมของลาวโซ่งหรือไทยโช่ง. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (มปป.). ปลึง (ขวัญ-เขมร) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ คนเมื่อ 23 กุมภาพันธุ 2564, จาก https://db.sac.or.th/thailand-cultural-encyclopedia/detail.php?id=16259.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554ก). แถน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554ข). พิธีกรรม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554ค). พิธีการ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th.

สำเริง อินทยุง, ยโสธารา ศิริภาประภากร, สุริยา คลังฤทธิ์. (2562). แซนพนม พิธีกรรมบูชาภูเขาของกลุ่มชาวไทยเขมร บ้านตะโก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา” ครั้งที่ 2, 23 สิงหาคม 2562. 374 - 378. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2562). ขวัญจับตองไมไดมองไมเห็นความเชื่อมากกวา 3,000 ปมาแลว [ออนไลน์]. คนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/daily-column/news_1364834.