แนวทางอนุรักษ์และสืบสานแซนพนมภูมิปัญญาและประเพณีบ้านตะโก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการประเพณีแซนพนม บ้านตะโก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และสืบสานแซนพนมภูมิปัญญาและประเพณีบ้านตะโก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพประกอบบทสัมภาษณ์เชิงลึก โดยรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์ ตำรา เอกสาร งานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง และลงสำรวจพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า ประเพณีแซนพนม กำเนิดและพัฒนาการจากความเชื่อในพลังธรรมชาติ อำนาจเทพเจ้า และอำนาจดวงวิญญาณที่สถิตอยู่บนภูเขาพนมรุ้ง พิธีกรรมที่เกิดขึ้นนั้นสะท้อนรูปแบบวิถีของผู้คนในชนบทตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ซึ่งผูกพันกับธรรมชาติเป็นหลัก ทั้งการขอให้ฝนตกตามฤดูกาล ขอให้พืชพันธุ์ธัญญาหารงอกงามอุดมสมบูรณ์ ขอให้ชุมชนมีความสงบร่มเย็น นอกจากนี้ประเพณียังส่งผลต่อเศรษฐกิจชุมชน การสื่อสาร การเมืองการปกครอง และมีบทบาทในการลดความขัดแย้งของชุมชนและสังคมได้ สำหรับแนวทางการอนุรักษ์และสืบสานแซนพนมภูมิปัญญาและประเพณี ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริมจัดทำหลักสูตรการจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียน สร้างกิจกรรมเพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจ สำนึกรักวัฒนธรรมของชุมชน และผลักดันให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสืบสานประเพณีของชุมชนต่อไป
Downloads
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิชาการ
หมวดหมู่
Copyright & License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
กฤษนันท์ แสงมาศ และ ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2562). พิธีแซนอาหยะจูยประจำปีของปราสาทบ้านโพธิ์ศรีธาตุ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 4(1), 110 - 124.
จิรวรรณ พรหมทอง และ สุวิมล เวชวิโรจน์. (2562). เครือข่ายความเข้มแข็งด้านการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยทรงดำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(3), 58 - 69.
ปกรณ์ กำลังเอก. (2564). การประสานเครือข่ายทางสังคมในการอนุรักษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรม: ศึกษากรณีนครประวัติศาสตร์ภาคกลาง. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 13(2), 59 - 69.
ปริญญา จงหาญ. (2553). การศึกษาพิธีกรรมแฮผกาของชาวบ้านดมและบ้านเทพอุดม ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ปรียานุช จุมพรม. (2549). พัฒนาการของชุมชนโบราณบริเวณรอบเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารดำรงวิชาการ, 5(2), 115 - 132.
พรพรหม ชลารัตน์. (2544). อภิปรัชญาในความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต. (2564). กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(2), 16 - 28.
พระมหาวีระ สุขแสวง. (2550). มะม็วด : พิธีกรรมและความเชื่อของกลุ่มคนพูดภาษาเขมรถิ่นอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเขมรศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระมหาหมวด สุกฺกธมฺโม. (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องความเคารพในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทพบริบาลแห่งชนเผ่ากับกลุ่มชาวไทยกวย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 4(2), 7 - 12.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2564). โครงการวิจัยการศึกษาแซนพนมภูมิปัญญาและประเพณีบ้านตะโก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ [ภาพถ่าย]. 15 พฤษภาคม 2564. บุรีรัมย์ : เขาพนมรุ้ง ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์.
ลานคำดีไซน์. (2561). เรือมปันโจล [Online]. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565, จาก. https://www.pinterest.com/ pin/313844667785250075.
วิลาสินี ศรีนุเคราะห์. (2543). ปันโจล : กรณีศึกษาพิธีการไหว้ครูเพื่อสืบทอดพิธีกรรมอันเนื่องจากความเชื่อของชาวไทยเขมรสุรินทร์. รายงานการวิจัย. สุรินทร์ : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุรินทร์.
ศุภฤทธิ์ ธาราทิพย์นรา และ โอกามา จ่าแกะ. (2565). การสร้างเครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสุโขทัย ตาก กำแพงเพชร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(2), 33 - 43.
สารภี ขาวดี. (2559). ประเพณีแซนโฏนตา: การสืบทอดและการดำรงอยู่ในบริบทพื้นที่ดั้งเดิม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 7(2), 131 - 163.
สำเริง อินทยุง, ยโสธารา ศิริภาประภากร, สุริยา คลังฤทธิ์. (2562). แซนพนม พิธีกรรมบูชาภูเขาของกลุ่มชาวไทยเขมร บ้านตะโก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยศิลปะละวัฒนธรรมศึกษา ครั้งที่ 2”, 23 สิงหาคม 2562. 374 - 378. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิรภพ สวนดง, พระยุทธนา อธิจิตฺโต, สงวน หล้าโพนทัน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริม การเรียนรู้ของประชาชนในเขตอีสานใต้. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1), 148 - 162.
สุริยา คลังฤทธิ์, ยโสธารา ศิริภาประภากร, ภัสสร มิ่งไธสง, ดิฐพงศ์ ประเสริฐไพฑูรย์. (2562). แซนพนม : ภูมิปัญญาเขมรโบราณมิติความสัมพันธ์ระหว่างคน สิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งแวดล้อม กรณีชุมชนรอบเขาพนมรุ้ง. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยศิลปะละวัฒนธรรมศึกษา ครั้งที่ 2”, 23 สิงหาคม 2562. 364 - 373. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เสฐียร พันธรังษี. (2543). ศาสนาโบราณ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.