แนวทางการพัฒนาอาชีพของชุมชนบ้านกุดงิ้ว ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พัทธพล สุขบรรณ์
วีรพงษ์ นิทะรัมย์
อลิสา สุวรรณัง
วันชัย สุขตาม
จิรายุ ทรัพย์สิน

บทคัดย่อ

การพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อพัฒนาชุมชนให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนบ้านกุดงิ้ว ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนบ้านกุดงิ้ว และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนบ้านกุดงิ้ว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล จำนวน 195 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ความแปรปรวน และค่าแจกแจงแบบที ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน กลุ่มอาชีพและกลุ่มเกษตรกร และประชาชนในชุมชน จำนวน 30 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่ สังเคราะห์เป็นประเด็นร่วมหรือประเด็นหลัก และอภิปรายเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของชุมชนต่อการพัฒนาอาชีพ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของชุมชนต่อการพัฒนาอาชีพ พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานภาพแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาอาชีพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและรายได้เฉลี่ยแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาอาชีพ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพของชุมชน พบว่า ด้านการตลาด คือ ควรมีตลาดรองรับสินค้าในชุมชน โดยมีการสำรวจผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของท้องตลาด ด้านการผลิตและคุณภาพ คือ ชุมชนมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติทีมีอยู่ในชุมชนในการผลิตสินค้าเพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต ด้านการพัฒนาอาชีพ คือ ชุมชนอยากให้มีวิทยากรมาอบรมเข้ามาให้ความรู้ด้านการส่งเสริมอาชีพและอยากมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้านปัญหาอาชีพ คือ แต่ละกลุ่มอาชีพควรมีการประชุมเฉพาะกลุ่ม ควรมีการบริการจากภาครัฐและภาคเอกชน มีการให้คำปรึกษา ด้านงบประมาณ คือ ควรมีโครงการรองรับและจัดหางานให้กับชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สุขบรรณ์ พ., นิทะรัมย์ ว., สุวรรณัง อ., สุขตาม ว., & ทรัพย์สิน จ. (2024). แนวทางการพัฒนาอาชีพของชุมชนบ้านกุดงิ้ว ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 13(2), 1–12. https://doi.org/10.14456/acj.2024.7
บท
บทความวิจัย
Bookmark and Share

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). รายชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://smce.doae.go.th/search.

กิจทวีสิน วิชัยดิษฐ, ชัยชนะ มิตรสัมพันธ์, จิรภัทร ตันติทวีกุล, เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์, สัมภาษณ์ สุวรรณคีรี. (2562). แนวทางการพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนในชุมชนตำบลบางสระแก้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีเพื่อเพิ่มรายได้ที่ยั่งยืน. รายงานการวิจัย. กรุ่งเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฐพล ขันธไชย. (2527). แนวความคิดและทฤษฎีในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาชนบทในการบริหารงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2527). การส่งเสริมการเกษตร : หลักการและวิธีการ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

บ้านกุดงิ้ว ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. (2564). การส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้าไหมชุมชนบ้านกุดงิ้ว ตำบล หมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02cZSEQyLQKZ5bCM3mvDxWUhCPgeX9rBdgVYxa8V1adEAfTFeSyRQG7mQzGzxzzs8jl&id=477875799651927

บ้านกุดงิ้ว ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. (2566). การเซ่นไหว้ปู่ตาของชุมชนบ้านกุดงิ้ว ตำบล หมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0EgxhAyMAuAp86gEhJnvcaPYhf27aMPgmZqhNCbQqoYzFUkdvJAxkiGVCYaWkhBrVl&id=100068405562396.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยบุตร หล่อไกรเลิศ. (2546). เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : แม็ค.

พุทธชาด สำราญวงษ์, จินดา ขลิบทอง, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ. (2562). แนวทางการส่งเสริมการผลิตเห็ดฟางของเกษตรกร อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9, 29 พฤศจิกายน 2562. 1192 – 1203. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เมทิณี เหมือนเพชร, ธิดารัตน์ อู่ตุ้ม, นนทชา ชัยทวิชธานันท์, อรรถพล วงศ์ชัย, พึงรัก ริยะขัน. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ บ้านวังอิทก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. ใน การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม (CSD สัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ 20, 30 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2564. 249 – 257. สงขลา : คณะมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศรีรัตน์ รำไพศรี และ วราภรณ์ จิรธนาวุฒิ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาอาชีพ (Career Development) ของกลุ่มข้าราชการกองวิเคราะห์และวิจัย สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร. จุลนิพนธ์. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์. (2566). รายงานสถิติจังหวัดสุรินทร์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://province.nso.go.th/surin/images/PDF_tang/Report_surin66.pdf.

สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://chumchon.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/106/2017/11/171120104333_กลุ่มอาชีพ-รวมเล่ม-08.11.60.pdf.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์. (2561). รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://surinpao.go.th/work_report64.