การศึกษาแนวทางการส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำคัญของการสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีความสุขและยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชน และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ และระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 159 คน คือ ผู้สูงอายุในชุมชนบ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 คุ้ม ได้แก่ 1) คุ้มหลวงตาอุดมศักดิ์ 2) คุ้มเนียงอุมา 3) คุ้มมะขามใหญ่ และ 4) คุ้มสี่สามัคคีร่วมใจ ซึ่งมาแบบสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยแบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน คือ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพและกลุ่มเกษตรกร และประชาชนในชุมชน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพ และลักษณะการอยู่อาศัย โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ผู้สูงอายุนิยมทำอาชีพที่บ้าน ได้แก่ การทอผ้าไหม การจักสาน และการทำพืชสมุนไพรลูกประคบ ผู้สูงอายุต้องการรับการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพร และผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ผู้สูงอายุต้องการรับคำปรึกษาและการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กฎหมาย และสุขภาพ ผู้สูงอายุต้องการงบประมาณในการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยว ผู้สูงอายุต้องการวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการส่งเสริมการตลาด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) หรือค่าธรรมเนียมอื่นใด และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/download/laws/th1573721522-816_0.pdf.
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). รวมพลังสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ก้าวสู่ 'สังคมสูงวัย' อย่างมีสุข [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/judprakai/1094533.
จุฑารัตน์ นกแก้ว และ ชินกร จิรขจรจริตกุล. (2565). ภูมิปัญญาท้องถิ่นตาลโตนดของชุมชนตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(4), 29 – 41.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน . ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
ชุมชนโบราณบ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (2561ก). คำขวัญประจำหมู่บ้าน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/photo?fbid=24135811 3229676&set=pcb.241358156563005.
ชุมชนโบราณบ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (2561ข). หมอยาสมุนไพรประจำหมู่บ้าน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02c7zp3yzj82SBQUHuKvyZwcCoa1sV9aGaN7jhuiLDfBuW3sgcXFrQZoasSJW3Kju5l&id=241204703245017.
ธีรนุช ชละเอม, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, พรนภา หอมสินธุ์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(2), 19 – 32.
พิมพงา เพ็งนาเรนทร์. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ของผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(1), 42 - 58.
วิชิต จรุงสุจริตกุล. (2559). การศึกษาลักษณะงาน ผลตอบแทน สวัสดิการและการส่งเสริมการมีงานทำ ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 115–123.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประชากรในประเทศไทย สถานการณ์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จากhttps://social.nesdc.go.th/social/Portals/0/Documents/1000_UNFPA_rev_Policy%20Brief%20Thai_200411_69.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1617171499-823_0.pdf.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). ทฤษฎีสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://tasawang.go.th/public/list/data/detail/id/1410/menu/290/catid/29/page/.