แนวทางการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรของเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์นำเสนอโครงการ ผลการวิจัยพบว่า ด้านนโยบาย/ แผน เทศบาลเมืองปากแพรกมีการจัดทำโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจในเรื่องการจัดโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพ ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี พบว่ามีวิธีการส่งเสริมอาชีพและการอนุรักษ์ภูมิปัญญามาปรับใช้ในเทศบาลเมืองปากแพรก ด้านการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน เทศบาลเมืองปากแพรกจัดทำโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน ได้มีการเผยแพร่ความรู้ความสามารถให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวในอนาคต โดยมีผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เทศบาลเมืองปากแพรกในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและงานฝีมือเป็นผู้เผยแพร่ จะมีแกนนำที่เป็นกลุ่มสตรีในท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญในด้านงานฝีมือโดยเฉพาะ การส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่าย มีการให้ความรู้ผ่านโครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ โดยการใช้เทคโนโลยีในการขายเพื่อขยายช่องทางการค้าสินค้าขึ้นชื่อของชุมชน หรือ สินค้าโอทอปให้ผู้อื่นได้เข้ามาเห็นสินค้าจริง และราคาที่เป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภค ซึ่งการโพสต์ขายในช่องทางออนไลน์นี้ยังช่วยเพิ่มช่องทางการค้าให้มีความหลากหลาย และผู้คนสามารถเข้าถึงได้ ทำให้ประหยัดเวลา แรงงาน งบประมาณได้เป็นอย่างมาก
Downloads
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
หมวดหมู่
Copyright & License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2566). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในยุคหลังโควิด (ตอนที่ 2): ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566, จาก http://www.kriengsak.com/community-economic-development-in-the-post-covid-era-part-2-recommendations-for-community-economic-development?fbclid=IwAR0-Q8Ti8LDCvqei03l-Z0nna8Sj3jbNKPqrs_bV12AYGmoAKHR8jdb6b_0.
จันทร์ชนก คุชิตา, ประสิทธิ์ กุลบุญญา, ไพศาล พากเพียร. (2565). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 969 - 982.
จุฑามาศ พันสวรรค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ปรีญานุช มากวัฒนสุข และ บัญญัติ ยงย่วน. (2563). ความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพของพนักงานลูกค้าสัมพันธ์: กรณีศึกษาศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 12(2), 53 - 76.
ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561). การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน : กรณีศึกษา บ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(3), 925 - 935.
ไพฑูรย์ ทองสม. (2556). แนวทางการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ภูมิปัญญาชุมชน. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาทักษิณศึกษา. พัทลุง : วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ไพศาล แก้วรากมุก. (2557). การจัดการความรุ้ในการอนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเงินชุมชนวัดศรีสุพรรณ ถนนวัวลาย ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. วิทยานิพนธ์. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานเทศบาลตำบลอิสาณ. (ม.ป.ป). อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตำบล [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566, จาก http://isan.go.th/duty-isan.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2560). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
Cohen, J. M. and Uphoff, N. T. (1980). Participation's Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity. World Development, 8(3), 213 - 235.
Malm, M. and Jamison, O. G. (1952). Adolescence. New York : McGraw-Hill.