การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์รายวิชานาฏยประดิษฐ์ จากท่าฟ้อนของหมอลำเพลิน คณะซุปเปอร์ ธ.ทวีศิลป์ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กนกอร สุขุมาลย์พงษ์
ปิ่นเกศ วัชรปาณ
ก้องเกียรติ ใจเย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชานาฏยประดิษฐ์ โดยใช้องค์ประกอบของการบูรณาการท่าฟ้อนของหมอลำเพลินในวิชานาฏยประดิษฐ์  ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ ทักษะแนวคิดการสร้างสรรค์ท่ารำของผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้องค์ประกอบของการบูรณาการท่าฟ้อนของหมอลำเพลิน โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ คณะหมอลำเพลินซุปเปอร์ ธ.ทวีสิน เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวคิดสร้างสรรค์ท่ารำพื้นบ้านชุดใหม่ และเขียนเป็นรายงานการศึกษา ในรูปแบบวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ที่พัฒนาทักษะด้านแนวคิดการสร้างสรรค์ที่เป็นพื้นฐานสำคัญประกอบด้วย กระบวนการสร้างสรรค์ตามหลักทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ ทฤษฎีการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีกระบวนการสร้างสรรค์ ทฤษฎีแห่งการเคลื่อนไหว ประกอบกับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและทักษะการปฏิบัติตามขั้นตอนของเดวีส์ ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการท่าฟ้อนของหมอลำเพลินโดยนำลักษณะการนำท่าฟ้อนของหมอลำเพลินมาประยุกต์กับฟ้อนอีสานประกอบด้วย ท่าหลักในแม่บทอีสาน ทั้งหมด 7 ท่า และเป็นท่วงท่านั้นประกอบด้วยท่าอิสระจากการปรุงแต่งท่าเลียนแบบธรรมชาติทั้งหมด 16 ท่า มาประยุกต์ให้เกิดแนวคิดการสร้างสรรค์ท่ารำพื้นบ้านปรากฎว่าผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เกิดแนวคิดในการประดิษฐ์ท่าฟ้อนพื้นบ้านขึ้นใหม่อย่างมีรูปแบบเฉพาะตัว สามารถประดิษฐ์ท่ารำโดยใช้เทคนิคจากการวิเคราะห์รูปแบบฟ้อนประกอบบริบทนาฏศิลป์พื้นบ้านตามท้องถิ่นของตนสร้างสรรค์การแสดงชุดใหม่ จำนวน 1 ชุดการแสดง  คือชุดนาคเกี้ยว อยู่ในระดับดีมาก

Downloads

Article Details

How to Cite
สุขุมาลย์พงษ์ ก., วัชรปาณ ป., & ใจเย็น ก. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์รายวิชานาฏยประดิษฐ์ จากท่าฟ้อนของหมอลำเพลิน คณะซุปเปอร์ ธ.ทวีศิลป์ จังหวัดอุดรธานี. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 13(3), 14–28. https://doi.org/10.14456/acj.2024.14
บท
บทความวิจัย
Bookmark and Share

References

คำล่า มุสิกา. (2559). รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์อีสานกับสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 84–108.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่17). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ปิ่นเกศ วัชรปาณ. (2567ก). ตัวเอกในชุดการแสดงลำเพลินนาคเกี้ยว [ภาพถ่าย]. 20 กุมภาพันธ์ 2567. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ปิ่นเกศ วัชรปาณ. (2567ข). ตัวรองในชุดการแสดงลำเพลินนาคเกี้ยว [ภาพถ่าย]. 20 กุมภาพันธ์ 2567. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วริศนันท์ เดชปานประสงค์, มงคล ไชยวงศ์, อัครวุฒิ จินดานุรักษ์, ไตรรัตน์ พิพัฒโภคผล, พลอยปภัส จิตรัตน์สรณ์. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติของผู้เรียน. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(2), 428 - 440.

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. (2565). การเรียนรู้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2567, จาก https://active-learning.thailandpod.org/learning-activities/creative-based-learning.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิศักดิ์ จำปาทอง. (2564). Active Learning การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566, จากhttp://blog.nation.ac.th/?p=8774.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นตริ้ง เฮาส์.

บุคลานุกรม

ณรงค์ จ่าโส, หัวหน้าคณะซุปเปอร์ ธ.ทวีศิลป์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปิ่นเกศ วัชรปาณ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566.

ณัฐพร จ่าโส, อดีตหมอลำเพลิน คณะซุปเปอร์ ธ.ทวีศิลป์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปิ่นเกศ วัชรปาณ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566.

บรรจง จันทร, ผู้สร้างสรรค์ลำเพลินเปิดผ้าม่านกั้ง (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปิ่นเกศ วัชรปาณ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566.

มนตรี วงระคร, ผู้สร้างสรรค์ท่าหมอลำเพลิน (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปิ่นเกศ วัชรปาณ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566.