ภาวะผู้นำทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา : กลยุทธ์การจัดการการศึกษาเพื่อความยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคม
บทคัดย่อ
ผู้นำของสถาบันอุดมศึกษามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนและความเท่าเทียมในสังคมซึ่งกลยุทธ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลซึ่งนำมาใช้รับมือกับความท้าทายของโลกในปัจจุบันที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การจัดการการศึกษาเพื่อความยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคม บทความนี้เป็นศึกษาเอกสารทางวิชาการด้วยการสำรวจและสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำในระดับอุดมศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) สถาบันอุดมศึกษาประสบความท้าทายด้านโครงสร้าง วัฒนธรรม และข้อจำกัดทางการเงินในการส่งเสริมความยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคม ซึ่งต้องอาศัยการปฏิรูปโครงสร้างและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพต้องพัฒนาและดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมความยั่งยืน รวมถึงสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างผลกระทบที่ยั่งยืน และ (3) กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเคปทาวน์และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนาแสดงให้เห็นแนวทางที่แตกต่างกันในการขับเคลื่อนความเสมอภาคทางสังคมและความยั่งยืนผ่านนโยบายและการดำเนินงานของสถาบัน สรุปได้ว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านโครงสร้าง วัฒนธรรม และการเงินในการส่งเสริมความยั่งยืนและความ เท่าเทียมทางสังคม ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเชิงนโยบายและการบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ภาวะผู้นำที่ดีสามารถขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าวผ่านการพัฒนานโยบาย สร้างขีดความสามารถของบุคลากร และเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยเคปทาวน์และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนาได้ดำเนินการ
Downloads
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
หมวดหมู่
Copyright & License
Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
Arizona State University. (2019). Sustainability Impact 2019. https://static.sustainability.asu.edu/docs/impact/SDG-Impact-Report-2019-Hyperlinked-Lores.pdf.
Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational Leadership (2nd ed.). Routledge. https://doi.org/10.4324/9781410617095.
Heifetz, R. A., Linsky, M., & Grashow, A. (2009). The Practice of Adaptive Leadership : Tools and Tactics for Changing Your Organization and the World. Harvard Business Press.
Kezar, A. J., & Holcombe, E. M. (2017). Shared Leadership in Higher Education : Important Lessons from Research and Practice. American Council on Education.
Le Grange, L. (2016). Decolonising the University Curriculum. South African Journal of Higher Education, 30(2), 1 - 12. https://doi.org/10.20853/30-2-709.
Leal Filho, W., Shiel, C., Paço, A., Mifsud, M., Ávila, L. V., Brandli, L. L., Molthan-Hill, P., Pace, P., Azeiteiro, U. M., Vargas, V. R., & Caeiro, S. (2019). Sustainable Development Goals and Sustainability Teaching at Universities: Falling Behind or Getting Ahead of the Pack? Journal of Cleaner Production, 232, 285 – 294. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2019.05.309.
Northouse, P. G. (2019). Leadership : Theory and Practice (8th ed.). Sage Publications.
Sterling, S. R. (2001). Sustainable Education : Re-visioning Learning and Change. Green Books.
Tilbury, D. (2019). Beyond Snakes and Ladders : Overcoming Obstacles to the Implementation of the SDGs in Higher Education Institutions. In Vilalta, J. M., Betts, A., Gómez, V., Cayetano, M., & Villacís, M. J. (Eds.), Implementing the 2030 Agenda at Higher Education Institutions : Challenges and Responses (75 – 81). Global University Network for Innovation.