คลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาคุณภาพวิถีชีวิตเกษตรกรกับแนวทางการพัฒนาการสอน กฎหมายไทย : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และตำบลศรีสุทโธ จังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
การศึกษากฎหมายเชิงคลินิก เป็นวิธีการสอนที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะทางกฎหมายและปลูกฝังจิตสำนึกในการให้บริการทางสังคมแก่นักศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการศึกษากฎหมายเชิงคลินิกต่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพและจิตสำนึกด้านความเป็นธรรมของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รวมถึงวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจกรรมคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อเกษตรกรในพื้นที่ตำบลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และตำบลศรีสุทโธ จังหวัดอุดรธานี เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้การศึกษากฎหมายเชิงคลินิกในการสอนวิชากฎหมายในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การศึกษากฎหมายเชิงคลินิกช่วยพัฒนาทักษะทางกฎหมายของนักศึกษา เช่น ทักษะการวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย ทักษะการสื่อสาร และทักษะการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย รวมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกในการให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ กิจกรรมคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อเกษตรกรยังช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ชนบทเข้าถึงบริการทางกฎหมายได้มากขึ้น และได้รับคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่กำลังประสพ เช่น ปัญหาที่ดินทำกิน สัญญาซื้อขายที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ สัญญาจำนอง โดยได้เสนอแนวทางการพัฒนาการสอนกฎหมายไทยให้สถาบันการศึกษาควรนำวิธีการสอนกฎหมายเชิงคลินิกไปปรับใช้ในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต อันทำให้การศึกษากฎหมายบรรลุมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้จากการได้ฝึกฝนทักษะทางกฎหมายเข้ากับสถานการณ์จริง ฝึกคิดเชิงวิเคราะห์แก้ไขปัญหา การให้คำปรึกษากฎหมาย และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท งานวิจัยนี้ได้เสนอแนะให้มีการขยายโครงการคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่ไปยังชุมชนอื่น ๆ เพื่อให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น
Downloads
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
หมวดหมู่
Copyright & License
Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
ชาญชัย ชัยสุวรรณ. (2560). การศึกษากฎหมายเชิงคลินิก : จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. วิญญูชน.
นิภาภรณ์ ลาภเสถียร. (2567). การพัฒนานิสิตเพื่อบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคลินิกกฎหมายเอกชนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม และการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 3(2), 53 - 66.
พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์. (2555). การศึกษากฎหมายเชิงคลินิก : ทางเลือกในการปฏิรูปการศึกษากฎหมายไทย. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(2), 80 – 108.
Bloch, F. S. (2011). The Global Clinical Movement : Educating Lawyers for Social Justice. Oxford Academic. https://doi.org/10.1093/acprof:oso/9780195381146.001.0001.
Bringle, R. G. (1997). Service-Learning in Higher Education: Concepts and Practices. The Journal of Higher Education, 68(6), 715 – 717. https://doi.org/10.1080/00221546.1997.11779010.
Giddings, J. (2008). Contemplating the Future of Clinical Legal Education. Griffith Law Review, 17(1), 1 – 26. https://doi.org/10.1080/10383441.2008.10854600.
Grimes, R., Brayne, H., & Duncan, N. (1998). Clinical Legal Education : Active Learning in Your Law School. Blackstone Press.
Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2021). The Experiential Educator : Principles and Practices of Experiential Learning. Experience Based Learning Systems.
Kruse, K. R. (2011). Getting Real About Legal Realism, New Legal Realism, and Clinical Legal Education. New York Law School Law Review, 56(2011/12), 295 - 320.
Llewellyn, K. N. (1935). On What is Wrong with So-called Legal Education. Columbia Law Review, 35(4), 651 – 678.
Madhloom, O., & McFaul, H. (2021). Thinking About Clinical Legal Education : Philosophical and Theoretical Perspectives. Routledge. https://doi.org/10.4324/9780429299247.
Samuel-Siegel, D. (2022). Reckoning with Structural Racism in Legal Education: Methods Toward a Pedagogy of Antiracism. Cardozo Journal of Equal Rights and Social Justice, 29(1), 1.
Stevens, R. B. (1983). Law School : Legal Education in America from the 1850s to the 1980s. University of North Carolina Press.