การพัฒนาชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

พีรวัส อินทวี
Thailand
วิโรจน์ ทองปลิว
Thailand
อนุชา ถือสมบัติ
Thailand
ณฤดี แปลงดี
Thailand
พิพัฒน์ วิถี
Thailand
วนมพร พาหะนิชย์
Thailand
เกศสุดา อินทวี
Thailand
คำสำคัญ: การพัฒนาชุมชน, ทุนวัฒนธรรม, โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
เผยแพร่แล้ว: เม.ย. 29, 2025

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และเพื่อวิเคราะห์ทุนวัฒนธรรม ผลกระทบของโครงการต่อเศรษฐกิจและสังคม มีกลุ่มเป้าหมายคือ ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองที โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) การเตรียมการด้วยการสำรวจชุมชน คัดเลือกพื้นที่ สร้างเครือข่าย 2) การดำเนินงานด้วยการวิเคราะห์ปัญหา วางแผน และดำเนินโครงการ 3) การติดตามและประเมินผลด้วยการตรวจสอบสภาวะแวดล้อม วิเคราะห์ปัจจัยและผลลัพธ์  ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีทุนวัฒนธรรมดั่งเดิมจำนวนมากและมีความเข้มแข็งเป็นพื้นที่สำคัญกับประวัติศาสตร์การกำเนิดเมืองสุรินทร์ ชุมชนได้รับการพัฒนาจากผลการดำเนินงานของโครงการดังนี้ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น    ผ้าไหม กระเป๋า อาหารพื้นเมือง 2) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมทำให้เกิดการส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น ผ่านตลาดวัฒนธรรม ROI = 13.67% ลดการพึ่งพิงจากภายนอก และสร้างองค์ความรู้ใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สรุปได้ว่าโครงการดังกล่าวช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคม

Downloads

Article Details

How to Cite

อินทวี พ., ทองปลิว ว., ถือสมบัติ อ., แปลงดี ณ., วิถี พ., พาหะนิชย์ ว., & อินทวี เ. (2025). การพัฒนาชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 14(1), 169–182. https://doi.org/10.14456/acj.2025.13

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่

References

กัญญารัตน์ แก้วกมล, นิติคุณ ท้าวทอง, สุปวีณ์ รสรื่น, อนุศิษฎ์ เพชรเชนทร์, อมรรัตน์ รัตนสุภา, และ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2564). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11(1), 75 - 79.

จักรพงษ์ เจือจันทร์, ณภัทชา ปานเจริญ, วุฒิพงษ์ รับจันทร์, และ พัชรภรณ์ เกลียวแก้ว. (2566). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและการสืบสานงานหัตถศิลป์ดินเผาบ้านช่างปี่. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(1), 57 – 72. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.5.

ไทยโรจน์ พวงมณี, มาริษา ภิรมย์แทน เดอ เบลส์, และ จารุวัลย์ รักษ์มณี. (2567). การขับเคลื่อนและการพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือพื้นบ้านจังหวัดเลยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 19(67), 1 - 15.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2566). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ศุภินธน์การย์ ระวังวงศา และ นภพร เชื้อขำ. (2566). การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม : การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 7(1), 290 - 306.

สนธยา พลศรี. (2553). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 6). โอเดียนสโตร์.

สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561). สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม. (2568). โครงการพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ชุมชนตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สู่การพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบทางวัฒนธรรมรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สังกัดสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อรวรวีย์ เฉลิมพงษ์. (2555). กระบวนการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Bourdieu, P. (1977). Outline of a Theory of Practice (Trans. Nice, R., Esquisse d'une théorie de la pratique). Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/CBO9780511812507.