ผลการใช้สื่อดิจิทัลโดยใช้อัตลักษณ์ชุมชนเป็นฐานเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านเทนมีย์ จังหวัดสุรินทร์
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลโดยใช้อัตลักษณ์ชุมชนเป็นฐานเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านเทนมีย์ จังหวัดสุรินทร์ และ 2) ศึกษาผลการใช้สื่อดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จากการศึกษากลุ่มเป้าหมาย 30 คน และกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ความต้องการ และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อสื่อดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์ความต้องการของชุมชน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สื่อดิจิทัลอยู่ในรูปแบบสติ๊กเกอร์ไลน์ทั้งแบบภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง ส่วนสื่อโมชั่นกราฟิกแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนบ้านเทนมีย์ ประกอบด้วย ประวัติและความเป็นมา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ การแต่งกาย อาหารพื้นถิ่น และประเพณี รวมไปถึงสินค้าโอทอป นวัตวิถี ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงชุมชน สำหรับการเข้าถึงสามารถเข้าถึงได้ด้วยคิวอาร์โค้ด ที่อยู่บนโปสเตอร์ที่ออกแบบไว้ ซึ่งผลการพัฒนาสื่อดิจิทัล พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย โดยรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (4.75) และผลการใช้สื่อดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โดยรวมอยู่ที่ระดับมาก (4.35) กล่าวโดยสรุปสื่อดิจิทัลสามารถนำไปใช้งานในการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก การสื่อสาร ผ่านสติ๊กเกอร์ไลน์ อีกทั้งยังส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านเทนมีย์ ผ่านโมชั่นกราฟิกอีกด้วย
Downloads
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
หมวดหมู่
Copyright & License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
ชลธิชา สมานโสร์. (2564). เอกสารประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเข้ารับรางวัลชั้นที่ 1 (ชั้นยอดเยี่ยม). สุรินทร์.
ฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์ และ ฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ. (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลในการประชาสัมพันธ์การตลาดของธุรกิจชุมชน กรณีชุมชนหินตั้ง – บ้านดง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(1), 10 - 21.
ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย, พระปลัดสมชาย ปโยโค, อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์, พระมหาใจสิงห์ สิริธมฺโม. (2564). การเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนสันติสุขในสังคมไทย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 303 - 316.
นิรมล ขมหวาน. (2557). การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนตลาดโบราณ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 14(1), 125 - 144.
เมธาวี จำเนียร. (2562). การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 235 – 256.
วราลักษณ์ มาประสม, นวัฒกร โพธิสาร, จักรกฤช ใจรัศมี, วิจิตรา โพธิสาร, อนุชาวดี ไชยทองศรี, ปฏิวัติ ยะสะกะ, และคณะ. (2564). ผลการใช้สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีความจริงเสริมสร้างแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยว แหล่งอารยธรรมขอมในสี่จังหวัดอีสานใต้ : นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(2), 161 - 170.
วิเชษฐ์ แสงดวงดี, อภิวัฒน์ บุญเนรมิตร, สุชาดา แสงดวงดี, อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์, ภาสกร ธนานันท์, ปัญจเวช บุญรอด, ทศพร เทียนศรี. (2563). นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ตามแนวโอทอปนวัตวิถี: กรณีศึกษาบ้านคลองโยง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 157 - 172.
สิริกานต์ ทองพูน, คัมภีร์ ทองพูน, คงทัต ทองพูน. (2563). อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านลานคา จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, 17 กรกฎาคม 2563. 948 - 953. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สืบศิริ แซ่ลี้. (2559). การออกแบบสติ๊กเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงอัตลักษณ์ของภาคอีสานตอนเหนือ กรณีศึกษาสัญลักษณ์ประจำจังหวัด. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 108 -118.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถานพักแรม ห้องพัก ผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากการท่องเที่ยว เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2562 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564, จากhttp://surin.old.nso.go.th/nso/project/search/index.jsp?province_id=76&fid=3&pro_code=O-src-16&pro_year=2563&data_type=3.
อินทิรา พงษ์นาค และ ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 511 - 523.