การวิเคราะห์รูปร่างรูปทรงจากศิลปะไทย เพื่อสร้างสรรค์ต่อยอดในงานออกแบบกราฟิกไทยร่วมสมัย
DOI:
https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.1.97-124คำสำคัญ:
รูปร่างรูปทรงไทย, การออกแบบกราฟิกไทยร่วมสมัยบทคัดย่อ
รูปร่างรูปทรงไทย นับเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นักออกแบบมักนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบกราฟิกเพื่อให้สะท้อนความรู้สึกของความเป็นไทย อย่างไรก็ดี องค์ความรู้เรื่องรูปร่างรูปทรงไทยในงานศิลปะไทยมีการวิเคราะห์และรวบรวมอยู่ไม่มากนัก
งานวิจัยนี้เริ่มจากรวบรวมผลงานศิลปะไทยเฉพาะที่ปรากฏชัดเจนเป็นรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานคือ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมและวงกลม จากนั้นนำมาวิเคราะห์ที่มาของรูปร่างรูปทรงและการสื่อความหมาย เพื่อจัดหมวดหมู่รูปร่างรูปทรงไทยเหล่านั้นและแปลงให้เป็นลายเส้นกราฟิก ขั้นต่อมารวบรวบผลงานออกแบบกราฟิกที่ให้ความรู้สึกไทยและปรากฏรูปร่างรูปทรงไทยในงานอ้างอิงตามหมวดหมู่รูปร่างที่จำแนกไว้ในขั้นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการนำรูปร่างรูปทรงไทยในงานศิลปะไทยไปใช้เพื่อสะท้อนความเป็นไทย
ผลจากการศึกษา ทำให้แยกหมวดหมู่ ที่มาและการสื่อความหมายของรูปร่างรูปทรงไทยในงานศิลปะไทยได้ดังนี้ รูปทรงสามเหลี่ยมจากจอมแหสื่อความหมายถึงพระพุทธเจ้า เขาพระสุเมรุ และไตรภูมิ เส้นสินเทาสื่อถึงการแบ่งเรื่องราวและมิติเวลา รูปทรงกลมจากธรรมจักรสื่อถึงพระธรรม จากลายดาวเพดานสื่อถึงสวรรค์ และจากลายกลางฝ่าพระพุทธบาทสื่อถึงพระพุทธเจ้า รูปทรงสี่เหลี่ยมจากลายประจำยามสื่อถึงพุทธบริษัท 4 ย่อมุมไม้สิบสองสื่อถึงพระสงฆ์
การนำรูปร่างรูปทรงไทยในงานศิลปะไทยมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบกราฟิกอาจถือเป็นการอนุรักษ์ไทยเพราะสามารถสะท้อนเอกลักษณ์ของชาติได้ การนำรูปร่างรูปทรงเหล่านั้นมาตัดทอนให้เป็นลายเส้นกราฟิกที่เรียบง่าย ผนวกกับทฤษฎีและองค์ความรู้ต่างๆ ของงานออกแบบกราฟิก ก็จะสามารถขยายขอบเขตความคิดสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจไปต่อยอดในผลงานออกแบบกราฟิกไทยร่วมสมัยได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
References
โชติ กัลยาณมิตร. (2518). พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปะเกี่ยวเนื่อง/พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
ไพโรจน์ พิทยเมธี. (2551). การวิเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุณยกร วชิระเธียรชัย. (2558). สถาปัตยกรรมเครื่องยอด ทรงจอมแห ว่าด้วยหลักวิชา เส้น รูป และความรู้สึก : กรณีศึกษายอดบุษบก-มณฑป. หน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 12, 158-214.
ไพโรจน์ พิทยเมธี. (2559). การสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะจากสีไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รักชนก โคจรานนท์. (2559). การวิเคราะห์ลักษณะและความหมายรอยพระพุทธบาท ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 04-12-2022 (2)
- 19-08-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 DEC Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทรรศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น