คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดทำวารสารวิชาการ "วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม" กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ เพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการและบทความจากงานวิจัยในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเป็นอิสระและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความละ 3 ท่าน และตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal)
สำหรับผู้สนใจสามารถส่งบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์จากวารสารฉบับใดมาก่อนและจัดพิมพ์ตามรูปแบบคำแนะนำการเขียนสำหรับผู้นิพนธ์ ส่งมายังกองบรรณาธิการวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความ ตัวอย่าง Template บทความ และวิธีการส่งบทความจากเอกสาร ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการนำส่งบทความ
2. ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการส่งบทความ ดังต่อไปนี้
2.1 Template บทความ ดาวน์โหลด Template บทความ
2.2 หนังสือนำส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสาร
2.3 หนังสือรับรองบทความ ไฟล์ หนังสือรับรองบทความ Word
ไฟล์ หนังสือรับรองบทควา่ม PDF
3. ผู้นิพนธ์จะต้องดำเนินการส่งบทความทางระบบ Thaijo ด้วยตนเอง ในรูปแบบไฟล์ Word และ PDF โดยแนบเอกสารประกอบการส่งบทความ (ข้อ 2.2 และ 2.3) พร้อมแจ้งการส่งหลักฐานผ่านช่องทาง Pre-Review Discussions ใน Submission ของบทความของท่าน
4.บทความที่ผู้นิพนธ์ต้องการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ต้องอ้างอิงบทความที่ตีเคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อย่างน้อย 1 บทความ
5. ผู้นิพนธ์ต้องปรับปรุงแก้ไขบทความภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับข้อเสนอแนะแก้ไขจากกองบรรณาธิการ รวมทั้งในระหว่างการพิจารณาบทความทุกขั้นตอน หากผู้นิพนธ์ขาดการติดต่อเกิน 30 วัน วารสารขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาบทความนั้น
6. ระยะเวลาในการดำเนินการของบทความหนึ่ง มีระยะเวลาประมาณ 90 วัน ขึ้นอยู่กับการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิและการแก้ไขของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ การพิจารณาของกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมถือเป็นสิ้นสุด
7. หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานกองบรรณาธิการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ที่อยู่: 85 ถ. มาลัยแมน ตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม 73000
เว็บไซต์: https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/
อีเมล์: journalhusonpru2022@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์ 034-261-066 ต่อ. 3334 หรือ 3335 และ 034-101-300
______________________________________________________________________________________________
1.จัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows ขนาดกระดาษ A4
2.ระยะห่างของกระดาษจากขอบบนและซ้าย เท่ากับ 1.25 นิ้ว จากขอบล่างและขวา เท่ากับ 1 นิ้ว
3.ตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ คือ TH Sarabun New
3.1 ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 16 พอยท์ กลางหน้า ตัวหนา
3.2 ชื่อนิพนธ์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พอยท์ ชิดขอบขวา และใส่เครื่องหมาย * มุมขวาเหนือนามสกุล และบอกรายละเอียดของผู้เขียนบทความไว้ด้านล่างของกระดาษในหน้าแรก
3.3 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) มีจำนวนคำไม่เกิน 350 ตัวอักษร โดยคำว่า บทคัดย่อ และ Abstract ขนาด 16 พอยท์ กลางหน้า ตัวหนา ส่วนข้อความในบทคัดย่อ ขนาด 16 พอยท์ ชิดขอบซ้าย-ขวา ตัวธรรมดา
3.4 คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Keywords) อย่างน้อยจำนวน 3 – 5 คำ โดยคำว่า คำสำคัญ และ Keywords ขึ้นบรรทัดใหม่ และข้อความของคำสำคัญ ขนาด 16 พอยท์ ชิดขอบซ้าย ตัวเอน
3.5 เนื้อหาของผลงาน พิมพ์ขนาด 16 พอยท์ ประกอบด้วย
3.5.1 บทความวิชาการ ประกอบด้วย บทนำ ส่วนสำคัญของเรื่อง บทสรุป ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
3.5.2 บทความวิจัย ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ขอบเขตการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรม
การอ้างอิง
- การอ้างอิงในเนื้อหา (Citations) มีโครงสร้าง 2 วิธี คือ ชื่อผู้แต่งวางไว้ในวงเล็บ และชื่อผู้แต่งวางไว้นอกวงเล็บ
1.1 การอ้างอิงแบบนามปี วิธีที่ 1 ชื่อผู้แต่งวางไว้ในวงเล็บ ใช้ในกรณีที่มีข้อความที่อ้างถึงก่อนบอกแหล่งที่มาไว้ในวงเล็บ ข้อความในวงเล็บต้องระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ เลขหน้าที่อ้าง
ตัวอย่างเช่น (ประไพ อุดมทัศนีย์, 2530: 20)
(Taylor, 1968: 181-182)
1.2 การอ้างอิงแบบนามปี วิธีที่ 2 ชื่อผู้แต่งวางไว้นอกวงเล็บ ใช้ในกรณีระบุแหล่งที่มาไว้ก่อนข้อความที่อ้างถึง สำหรับรายการในวงเล็บต้องระบุปีที่พิมพ์และหมายเลขหน้าที่อ้าง
ตัวอย่างเช่น ประไพ อุดมทัศนีย์ (2530: 20)
Taylor (1968: 181-182)
หากเอกสารที่นำมาอ้างที่มีผู้แต่งหลายคน กรณี 2 คน ให้ใส่ผู้แต่งทั้ง 2 คน มีคำว่า “และ” คั่นระหว่างคนที่ 1 และคนที่ 2 เช่น
(ชุติมา สัจจานันท์ และนันทิพา มีแต้ม, 2530: 17-25)
ถ้าเป็นชาวต่างชาติจะใส่เฉพาะนามสกุลเท่านั้น ใช้เครื่องหมาย & คั่นระหว่างนามสกุลผู้แต่ง เช่น
(Marks & Neilwson, 1991: 26-29)
กรณีมีผู้แต่ง 3 คน ให้ใส่ผู้แต่งทุกคน โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น ผู้แต่งทุกคน ยกเว้นสองคนสุดท้าย ใช้คำว่า “และ” ในภาษาไทย และใช้เครื่องหมาย “&” ในภาษาอังกฤษ เช่น
(เจือ สตะเวทิน, ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และประภาศรี สีหอำไพ, 2519: 98-100)
(Hockmuth, Franklin & Clawson, 1992: 24)
กรณีมีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ใส่เฉพาะชื่อคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคณะ” ถ้าเป็นชาวต่างชาติใส่เฉพาะนามสกุลคนแรก และตามด้วยคำว่า “et al.” เช่น
(กอบแก้ว โชติกุญชร และคณะ, 2540: 42)
(Sarton, et al, 1982: 67)
หากเอกสารที่นำมาอ้างเป็นการสรุปความทั้งเล่ม ไม่ต้องระบุเลขหน้า เช่น
(นุชรี บุญศรีงาม, 2561)
(Kotler, 1997)
หากเอกสารที่นำมาอ้างเป็นสื่ออินเทอร์เน็ต ให้ใส่คำว่า ออนไลน์ หรือ online แทนเลขหน้า เช่น
(สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2552: ออนไลน์)
(International Organization for Standardization, 2006: online)
กรณีที่เอกสารที่นำมาอ้างนั้นไม่ปรากฏผู้แต่ง ให้ใส่ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ เช่น
(สตรีไทยในปี 2000, 2530: 35)
(Webster’s new world dictionary of American English, 1994).
(แก้วเจ้าจอม, 2545: ออนไลน์)
- บรรณานุกรม ให้ใช้รูปแบบการเขียนแบบ APA Style (American Psychological Association Style) ดังต่อไปนี้
2.1 หนังสือทั่วไป
ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
กุหลาบ รัตนสัจธรรม. (2532). การสาธารณสุขมูลฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: ภาควิชาพยาบาล
ชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.
เทพนารินทร์ ประพันธ์พัฒน์. (2548). วิศวกรรมเครื่องมือ (Tool engineering). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สตรีไทยในปี 2000. (2530). กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพสตรีสภาสังคมสงเคราะห์แห่ง ประเทศไทย.
Borkowski, M. V. (1975). Library technical assistant’s handbook. Philadelphia: Durance.
Burris, M. & Conic, C. (1975). Theatres and auditoriums (2nd ed.) New York: Robert E. Krieger.
- หนังสือรวมเรื่อง
ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อผู้รวบรวมหรือบรรณาธิการ(ถ้ามี).//ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่).// (หน้า/หมายเลขหน้าบทความ).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
สุปราณี แจ้งบำรุง. (2546). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน. ใน สุปราณี แจ้งบำรุง และคณะ, บรรณาธิการ. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546 (พิมพ์ครั้งที่ 3). (หน้า 21-26). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).
Cleverdon, R. W. (1978). User evaluation of information retrieval systems. In Donald W. King, Ed. Key papers in the design and evaluation of information systems. (pp. 154-165). New York: Knowledge Industry.
- หนังสือแปล
ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือแปล.//แปลจาก/ชื่อหนังสือต้นฉบับ.//โดย/ชื่อผู้แปล.//(พิมพ์ครั้งที่).// สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ไพค์, ดักลาส. (2528). เวียดกง. แปลจาก Vietnamese. โดย ฉลวย พิชัยศรทัต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
สุเทพ จันทรสมศักดิ์, ผู้แปล. (2529). อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์. แปลจาก The method of mathematical intuition. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ.
Naumov, N. P. (1989). The ecology of animal. Translated by Frederick K. Plous. Champaign: University of Illinois Press.
- วิทยานิพนธ์
ผู้วิจัย.//(ปีที่วิจัยสำเร็จ).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับวิทยานิพนธ์/ชื่อสาขาวิชา/สังกัดของสาขาวิชา/มหาวิทยาลัย.
เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2540). การวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐิดาภรณ์ เพ็งหนู. (2543). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Angelova, A. N. (2004). Data pruning. Master's thesis. California Institute of Technology, Pasadena, CA.
Caprette, C. L. (2005). Conquering the cold shudder: The origin and evolution of snake eyes. Doctoral dissertation. Ohio State University, Columbus, OH.
- รายงานการวิจัย
ผู้วิจัย.//(ปีที่พิมพ์).//รายงานการวิจัย เรื่อง…//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
เบญจรัตน์ สีทองสุก, และคณะ. (2547). รายงานวิจัยเรื่อง ห้องสมุดมีชีวิต สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม. นครปฐม: โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
Suntornpithug, N. (1979). Research report: A study of the evolution of teacher training in Thailand: Toward a model for development. Bangkok: Department of Teacher Education.
- วารสาร
ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์,/เดือน).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้าบทความ.
ประหยัด หงษ์ทองคำ. (2544, เมษายน). อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540.
รัฐสภาสาร, 49 (4), 1-16.
Rochester, M. & Vakkari, P. (1998, December). International LIS research: A comparison of national
trends. IFLA Journal, 24 (12), 166-175.
- หนังสือพิมพ์
ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์,/เดือน/วันที่).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้าบทความ.
ศิริรัตน์ สาโพธิ์สิงห์. (2543, เมษายน 15). สุขภาพหน้าร้อน ปัญหาที่ป้องกันได้. เดลินิวส์, 5.
Goodman, D. (1997, March 20). Pavilians of Sanam Chan Palace. The Sunday Post, 25-26.
8. เอกสารประกอบการประชุม อบรม สัมมนา
ผู้เขียน.//(ปีที่สัมมนา).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อเรื่องรายงานการประชุม อบรม สัมมนา/(วันที่/เดือน/หน้า/ หมายเลขหน้าบทความ).// สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2544). การจัดการเชิงกลยุทธ์. ใน หลักสูตรนักบริหารสถาบันราชภัฏ นบร. รุ่นที่ 4, 5
และ 6 (6-11 พฤษภาคม หน้า 9-22). นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ.* (2542). งานฝีมือ ภูมิปัญญาชาวบ้านในทศวรรษหน้า. ใน การสัมมนาเรื่องวิสัยทัศน์
ศิลปวัฒนธรรมในทศวรรษหน้า (10-12 สิงหาคม). สงขลา: สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสงขลา.
(อัดสำเนา)
(*เอกสารประกอบการประชุม อบรม สัมมนาที่ไม่เป็นรูปเล่ม)
- การสัมภาษณ์
ผู้ให้สัมภาษณ์,/ตำแหน่ง(ถ้ามี).//(ปีที่สัมภาษณ์).//สัมภาษณ์.//วัน/เดือน.
เทียบ เผ่าด้วง, ผู้ครอบครองหนังสือสมุดไทยขาวเส้นหมึก “สมุดตีรักสา”. (2526). สัมภาษณ์. 26 พฤศจิกายน.
- ราชกิจจานุเบกษา
ชื่อประกาศ หรือแถลงการณ์ หรือพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ข้อบังคับ.//(ปีที่ประกาศ).//
ราชกิจจานุเบกษา//(เล่มที่/).//ตอนที่/หน้า/(วันที่/เดือน)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 6). ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม)
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 121). ตอนพิเศษ 70 ก (12 พฤศจิกายน)
11. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
11.1 อินเทอร์เน็ต
ชื่อผู้จัดทำเว็บไซต์.//(ปีที่เผยแพร่).//ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ./ค้นเมื่อ/เดือน/วัน,/ปี,/จาก/URL
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2557). คลังข้อมูลงานวิจัยไทย. ค้นเมื่อ ธันวาคม 1, 2561, จาก
http://www.tnrr.in.th/2557/?page=search&q=&cid=54
Modern Language Association. (2005). MLA bibliographic format. Retrieved September 19, 2014,
from http://www.mtmercy.edu/lib/lnote/15a.htm/
11.2 วารสารอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้า./ค้นเมื่อ/เดือน/วัน,/ปีที่ค้น,/ จาก/ชื่อเว็บไซต์ (URL)
นุชรี บุญศรีงาม (2560, มกราคม-มิถุนายน). การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารวิชาการภาษาไทยที่ให้บริการในสำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐมระหว่าง พ.ศ. 2555- 2557. วารสารบรรณศาสตร์
มศว., 10(1), 10-21. ค้นเมื่อ ตุลาคม 19, 2562, จาก
http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9942
Russell-Bowie, D. (2010). Cross-national comparisons of background and confidence in visual
arts and music education of pre-service primary teachers. Australian Journal of Teacher Education, 35 (4), 65-78. Retrieved December 25, 2013, from
http://ajte.education.ecu.edu.au/
** (ชื่อบทความและชื่อหนังสือ ที่เป็นภาษาอังกฤษ ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นคำที่ขึ้นต้นหรือชื่อเฉพาะ ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่)