กลยุทธ์การสื่อสารภายใต้แนวคิดการทำงานแบบอไจล์ กรณีศึกษา : หน่วยงานมิราอิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด มหาชน

Main Article Content

พุธิตา รังสิมันตศิริ
พุธิตา รังสิมันตศิริ
ประไพพิศ มุทิตาเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารภายใต้แนวคิดการทำงานแบบอไจล์ กรณีศึกษา : หน่วยงานมิราอิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด มหาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารภายใต้แนวคิดแบบอไจล์ซึ่งเป็นแนวคิดการทำงานแบบใหม่ ของผู้บริหารหน่วยงานมิราอิ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกในหน่วยงานมิราอิต่อกลยุทธ์การสื่อสาร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้บริหารในฐานะผู้เกี่ยวข้องกับการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเกี่ยวกับแนวคิดการทำงานแบบอไจล์ และสมาชิกในหน่วยงานมิราอิในฐานะผู้รับสารเกี่ยวกับแนวคิดการทำงานแบบอไจล์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริหารใช้กลยุทธ์การสื่อสารการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำเสนอแนวคิดการทำงานแบบอไจล์ โดยใช้ผู้นำการสื่อสาร และการสร้างบริบทแวดล้อมที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สมาชิกในหน่วยงานได้รับทราบแนวคิดการทำงานแบบอไจล์ ผ่านช่องทาง คือสื่อกิจกรรมและสื่อบุคคลเป็นหลัก ตามขั้นตอนของการสื่อสารการเปลี่ยนแปลง และในส่วนของการสร้างบริบทแวดล้อมที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ได้มีการนำวัฒนธรรมของหน่วยงาน มาเป็นส่วนประกอบของการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนสมาชิกได้รับทราบและเข้าใจแนวคิดแบบอไจล์มากขึ้น ในส่วนของความคิดเห็นของสมาชิกในหน่วยงาน พบว่า สมาชิกมีความคิดเห็นในเชิงบวกต่อกลยุทธ์การสื่อสารแนวคิดแบบอไจล์ผ่านผู้นำการสื่อสาร และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันต่อกลยุทธ์การสื่อสารแนวคิดแบบอไจล์ด้วย การสร้างบริบทแวดล้อมที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลง: บทบาทของภาวะผู้นำและการสื่อสารในองค์การ. Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.9(1), 895-919. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E- Journal /article/view/56868/47275.

ประไพพิศ มุทิตาเจริญ. (2561). องค์กร การสื่อสารและการเปลี่ยนแปลง. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พรนัชชา พุทธหุน. (2559). การเปลี่ยนแปลงองค์การ : ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารสังคมศาสตร์.5 (1),1.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2558). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิลุบล แสนอาทิตย์. (2547). กระบวนการสื่อสารในการอนุรักษ์แม่น้ำของตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน.กรุงเทพมหานคร.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุดา รักไทย. (2542). การบริหารความเปลี่ยนแปลง จากแนวคิด สู่วิธีปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร. เอ็กซเปอร์เน็ท

สนิธพรรณ จิตตั้งสมบูรณ์ และ มฑุปายาส ทองมาก.(2561).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ DevOps. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์.40 (158), 53. https://cbsreview.acc.chula.ac.th/Article/Download_Article.aspx?c=1&file=4W3z5EFYkJc%3D

อรจิรา วรรณศิริพงษ์ (2554) การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร กรณีศึกษา ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

ภาษาต่างประเทศ

Kane,K. (2005). Managing Change to Reduce Resistance. USA: Harvard Business School Publishing Corporation.

Smythe, J. (1996). The Changing role of internal communication in tomorrow’s company. Managing Service Quality, 6, pp.41-44.