ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของพนักงานสัญชาติไทย ในองค์กรสัญชาติจีน: กรณีศึกษาองค์กรธุรกิจแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง

Main Article Content

เก็จจิรา ปิณฑะดิษ
พีรยุทธ โอรพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถและปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของพนักงานสัญชาติไทย ในองค์กรสัญชาติจีน ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่ทำการศึกษาอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 13 คน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานสัญชาติไทย ในองค์กรสัญชาติจีนมีความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านความคิด กล่าวคือ มีความรู้ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมจีน และเชื่อมโยงบริบทความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี, ด้านความรู้สึก มีแรงจูงใจในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่นในอัตลักษณ์ และด้านพฤติกรรมที่มีการเปิดรับความต่างทางวัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์กับคนจีน และแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านภาษาและการสื่อสารที่พนักงานต้องการมีทักษะและการสื่อสารเทียบเท่าเจ้าของภาษา, ปัจจัยด้านความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้าน การดำเนินชีวิตและการทำงานที่มีโครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และการตรวจสอบคุณภาพและการให้บริการซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะขององค์กรสัญชาติจีนที่พบในการศึกษาครั้งนี้, ปัจจัยด้านความชื่นชอบส่วนบุคคล และปัจจัยด้านแรงจูงใจภายในและภายนอก ที่ส่งผลให้พนักงานต้องการเรียนรู้และเพิ่มทักษะให้สอดรับกับความต้องการขององค์กร จนเกิดเป็นความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2564). ไทยพาณิชย์ เผยนักลงทุนจีนมาแน่ ปักฐานลงทุนไทยเชื่อมั่นศักยภาพ เป็นศูนย์กลางขยายตลาดสู่อาเซียน และเจาะภาคบริการและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น. https://www.scb. co.th/th/about-us/news/jan-2564/eye-chin

เปรมสินี คำทัปน์ และ ธรณิศ ลีลาเศรษฐกุล. (2563). ความสำคัญของ "ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม" กับการเพิ่มศักยภาพแรงงานในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 35-44.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2559). การศึกษาปัญหาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและแนวทางการปรับตัวของอาจารย์ต่างชาติกับนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10(2). http://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/12345 6789/1550/1/การศึกษาปัญหาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและแนวทางการปรับตัวของอาจารย์ต่างชาติกับนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร.pdf

รัชนก เชื้อแพทย์. (2563). รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา). http://etheses.aru.ac.th/PDF/125636 201311.PDF

วินิตา สุขเจริญมิตร. (2561). รีวิวประสบการณ์ การทำงานจริงในบริษัทสัญชาติจีน – ที่จะทำให้รู้ว่าคุณต้องรู้รอบทุกด้าน. https://campus.campus-star.com/variety/89908.html

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2564). สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายเดือนสะสมปี 2564 (มกราคม-มิถุนายน). https://www.boi.go.th/upload/content/Report%20Q2% 202021.pdf

ภาษาต่างประเทศ

Appenrodt, J. (2013). A Comparison of Two Models Explaining the Same Phenomenon. https://jyx.jyu.fi/bitstream/handle/123456789/41245/URN:NBN:fi:jyu-201304231488.pdf

Badrkoohi, A., & Xiaofei Lu (Reviewing editor) (2018). The relationship between demotivation and intercultural communicative competence. Cogent Education, 5(1), DOI:10.1080/2331186X.2018.1531741

Candel-Mora, M. Angel. (2015). Attitudes towards Intercultural Communicative Competence of English for Specific Purposes Students. Procedia – Social and Behavioral Sciences. 178(15), 26-31. https://www.academia.edu/14105383/Attitudes_towards_ Intercultural_Communicative_Competence_of_English_for_Specific_Purposes_Students

Dopica, A. (2020). What is Miles and Huberman qualitative data analysis?. Retrieved from https://janet-panic.com/what-is-miles-and-huberman-qualitative-data-analysis/#What_is_Miles_and_Huberman_qualitative_data_analysis

Matveev, A. (2017). Intercultural Competence in Organizations. New York: Springer International Publishing.

Nadeem, M., Mohammed, R., & Dalib, S. (2020). Retesting integrated model of intercultural communication competence (IMICC) on international students from the Asian context of Malaysia. International Journal of Intercultural Relations. https://doi.org/ 10.1016/j.ijintrel.2019.10.005

Young Yun Kim. (2001). Becoming Intercultural: An Integrative Theory of Communication and Cross-Cultural Adaptation. California: Sage Publishing.