การสื่อสารเพื่อแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

Main Article Content

ปพิชญา สุโข
อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารเพื่อแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีบนเครือข่ายสังคมออนไลน์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อเพื่อแสดงออกทางเมืองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี และศึกษาการออกแบบสารเพื่อแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยการเก็บตัวอย่างทวิตของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีที่เคยสื่อสารทางการเมืองผ่านทวิตเตอร์


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีมีการใช้ข้อความเป็นสื่อหลักในการสื่อสารเพื่อแสดงออกทางการเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ กล่าวคือ มีการนำข้อความมาใช้ในการบรรยายเพื่อสื่อสารข้อเท็จจริง นำข้อมูลจากแหล่งอื่นที่มีความน่าเชื่อถือมาเรียบเรียงสรุปความ นอกจากนี้ยังมีการติดแฮชแท็กในทวิตของตนเอง เพื่อให้ทวิตของตนเองถูกจัดกลุ่มอยู่ในเนื้อหาการสื่อสารประเภทเดียวกัน และกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีมักจะออกแบบสารโดยใช้จุดจูงใจเชิงเหตุผลร่วมกับอารมณ์เพื่อนำเสนอสารของตนเอง โดยการใช้จุดจูงใจทั้งสองประเภทจะสามารถทำให้ผู้รับสารสนใจในตัวสารมากกว่าการใช้จุดจูงใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กฤชกร เกตุทองมงคล.(2562).ความคิดเห็นและการสื่อสารทางการเมืองผ่านสื่อใหม่ของศิลปินดาราที่มีต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร.มหาวิทยาลัยบูรพา.

ข่าวไทยพีบีเอส.(2562).ที่สุดปี'62"อลหม่าน" การเมืองไทย.สืบค้นจากhttps://news.thaipbs.or.th/content/287476

จิรัฏฐ์ พรหมดิเรก.(2558).แฮชแท็กรณรงค์:ความคาดหวังการเปิดรับและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.

ชนกานต์ รักชาติ และพัชนี เชยจรรยา.(2559).วิธีการสื่อสารและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฐิติภา สัมพันธ์พร.(2556).สร้างแบรนด์ให้ติดตลาดด้วยเฟสบุ๊ค:Branding on facebook. กรุงเทพฯ:ดรีม แอนด์ พับบลิชชิ่ง.

ณิชชา ยงกิจเจริญ.(2558).การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรม ที่มีต่อศิลปินวง EXO ของกลุ่มแฟนคลับ EXO-L. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดวงทิพย์ วรพันธุ์.(2536) พรรคการเมืองและพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไป2535.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ.

นิภากร กำจรเมนุกูล.(2556).การสื่อสารการเมืองของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิศากร ไพบูรณสิน.(2555).พฤติกรรมการสื่อสารกับการมีสวนรวมทางการเมืองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร,คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน.

บีบีซีไทย.(2563).LGBT:"แดร็กควีน"กับ"ราษฏร"เสียงเรียกร้องเพื่อความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ.สืบค้นจากhttps://www.bbc.com/thai/thailand-54715657

พิชิต วิจิตรบุญยรักษณ์.(2554).สื่อสังคมออนไลน์:สื่อแห่งอนาคต.วารสารนักบริหาร,31(4).

พิมพ์เดือน จาตุรงคกุล.(2550).มัลติมีเดียเพื่องานนิเทศศาสตร์.เอกสารประกอบการสอนคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิมลพรรณ ไชยนันท์ (2555).สื่อออนไลน์กับการสื่อสารทางการเมืองของเยาวชนไทย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิศมัย หาญมงคลพิพัฒน์.(2556).พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกาแพงแสน.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ2558.หาดใหญ่:มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ภิเษก ชัยนิรันดร์.(2553).การตลาดแนวใหม่ผ่าน social media.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ยุทธพร อิสรชัย.(2559).แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง.เอกสารประกอบการสอนหน่วยที่ 8. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา.(2563).ปฏิเสธไอดอลที่รักติ่งเกาหลีกับประชาธิปไตยบนวัฒนธรรมใหม่.สืบค้นจากhttps://waymagazine.org/i- dont-love-my-idol/

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล.(ตุลาคม-ธันวาคม 2556).เครือข่ายสังคมออนไลน์:กรณีเฟสบุ๊ค(Facebook)กับการพัฒนาผู้เรียน.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,5(4),197-205.

วรัญญา ประเสริฐ และคณะ.(2559).การสื่อสารทางการเมืองในรายการคืนความสุขให้คนในชาติศึกษาระหว่างปีพ.ศ.2557-2559.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราภรณ์ ประจล.(2547).การใช้ภาพดึงดูดใจสำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะศิลปกรรมศาสตร์.

สุภาภรณ์ ติ่งอินทร์.(2553).กลยุทธ์การสื่อสารของสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ที่เคยดำรงตำแหน่งกำนัน.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสถียร เชยประทับ.(2540).การสื่อสารกับการเมือง:เน้นสังคมประชาธิปไตย.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อังศุมาลิน กองสมัคร.(2559).การเปรียบเทียบสื่อโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์การไม่ทารุณกรรมสัตว์ระหว่างการโน้มน้าวใจเชิงบวกและเชิงลบ.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน.

อัจฉรียา ประสิทธิ์วงศา.(2562).การสื่อสารการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพรรคอนาคตใหม่และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเจเนอเรชันZ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาษาต่างประเทศ

Best,S.J., &Krueger, B. S.(2005).Analyzing the representativeness of Internet political participation. Political Behavior, 27(2).

Denton, R.E.,&Woodword, G.C.(1990).Political Communication in America. New York: Preager.

McNair, B.(2007).An introduction to political communication (7th ed.). Oxon: Routledge.

Paul Martin Lester.(2013) Visual Communication images with Messages.Wadsworth Publishing Company.

Rush, M.,&Althoff, P.(1971).An Introduction to Political Sociology.London:ThomasNelson and Sons.p.160.