การเปิดรับ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บข้อมูลจากบุคคลที่เคยใช้งานเพจ Wongnai Vibes ใช้วิธีการเก็บข้อมูลในรูปแบบของแบบสอบถามออนไลน์จนได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานเพจ Wongnai Vibes จำนวน 300 คน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 18 – 27 ปี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และรายได้ส่วนตัวต่อเดือน 30,000 – 50,000 บาท ในส่วนของการเปิดรับของผู้ใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes พบว่าการใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes ต่อสัปดาห์มีความถี่มาก (ค่าเฉลี่ย 3.93) และมีการใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes ในช่วงเวลา 18.01-21.00 น. มากที่สุด ในส่วนของความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes ด้านเนื้อหาข้อมูลส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes ด้านเนื้อหาข้อมูลส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) มาก ( ค่าเฉลี่ย 3.93 ) โดยผู้ใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes มีความพึงพอใจต่อการนำเสนอข้อมูลด้านสถานที่ (place) มากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย 3.95 ) และความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes ด้านรูปแบบการนำเสนอ ผู้ใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอประเภทรูปภาพมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย 3.90 ) สำหรับแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการจริงของผู้ใช้งานเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes พบว่า มีแนวโน้มพฤติกรรมความต้องการไปใช้บริการจริงมาก ( ค่าเฉลี่ย 3.90 ) ประเด็นที่มีความตั้งใจจะติดตามข้อมูลการรีวิวคาเฟ่ของเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes ต่อไปในระยะยาวมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย 4.59 ) สำหรับผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า การเปิดรับเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจทั้งด้านเนื้อหาข้อมูลและด้านรูปแบบการนำเสนอคาเฟ่ ได้แก่ รูปภาพและวิดีโอ บนเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes และความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั้งด้านเนื้อหาข้อมูลและด้านรูปแบบการนำเสนอคาเฟ่ ได้แก่ รูปภาพและวิดีโอ บนเพจเฟซบุ๊ก Wongnai Vibes มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กุลนิดา นิธิไพบูลน์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นปัจจัยทางการตลาดกับการซื้อสินค้าแฟชั่นออนไลน์ทางโซเชียลมีเดียผ่านสมาร์ทโฟน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน
เกรียงไกร พัฒนกุลโกเมธ และทิติพงษ์ สุทธิรัตน์. (2553). การเปิดรับสื่อ ความรู้ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อการงดสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ธีราพร ใจหนัก. (2550). การเปิดรับและทัศนคติของนักเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อโครงการ DNA (Drink no alcohol) สายพันธุ์ใหม่ไร้แอลกอฮอล์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน,สาขาการจัดการการสื่อสารภาครัฐและเอกชน.
สุนิษฐา เศรษฐีธร. (2562). รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย เดือนมกราคม ปี 2562.สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565. จาก http://fic.nfi.or.th/upload/market_overview/Rep_Cafe_15.01.62.pdf
อดุลย์จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
Bharadwaj, S. G., Varadarajan, P. R., & Fahy, J. (1993). Sustainable Competitive Advantage in Service Industries: a Conceptual Model and Research Propositions. Journal of Marketing,53, 83-99.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. (2010). Consumer Behavior. 10th ed. Upper Saddle River, N.J.: Prentice-Hall.