การศึกษาความคาดหวังประโยชน์และความพึงพอใจของประชาชน ที่ได้รับข่าวสารผ่านเพจเฟซบุ๊ก SPRC กรณีเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังประโยชน์ และความพึงพอใจของประชาชนที่ได้รับข่าวสารผ่านเพจเฟซบุ๊ก “SPRC Star Petroleum Refining Public Company Limited” กรณีเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ติดตามข่าวสารของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ผ่านเพจเฟซบุ๊ก SPRC จำนวน 220 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25 - 35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน อยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง โดยส่วนใหญ่มีความคาดหวังประโยชน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีความคาดหวังว่าจะเข้าใจเรื่องของสถานการณ์และความคืบหน้าเหตุการณ์น้ำมั่นรั่วมากที่สุด ส่วนด้านพฤติกรรมการเปิดรับสารผ่านเพจเฟซบุ๊ก SPRC ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการรับทราบข่าวสารด้านความคืบหน้าการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งนี้มีความพึงพอใจต่อการรับข่าวสารผ่านเพจเฟซบุ๊ก SPRC ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจในเรื่องข้อมูลและข่าวสารเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เป็นประโยชน์มากที่สุด และส่วนใหญ่มีความตั้งใจที่จะติดตามข่าวสาร ผ่านเพจเฟซบุ๊ก SPRC เพื่อรับรู้ข้อมูลเหตุการณ์น้ำมันรั่ว และกิจกรรมขององค์กรต่อไปมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า ความคาดหวังประโยชน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสาร และพฤติกรรมการเปิดรับสารมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ และความพึงพอใจมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการรับสารของประชาชนที่ได้รับข่าวสารผ่านเพจเฟซบุ๊ก SPRC กรณีเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยยะสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). SPRC ชี้ปริมาณน้ำมันดิบรั่วไหล 20–50 ตัน เร่งจัดการน้ำมันตกค้าง 5.3 ตัน. https://www.bangkokbiznews.com/business/984857
กานต์ บุญศิริ. (2564). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารในภาวะวิกฤติ.https://shorturl.asia/z7SPQ
ชนินทร คชพรม. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Gymboree Play & Music Rama 3 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของผู้ใช้บริการ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทินี พิศวิลัย. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์ www.ginraidee.com ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณศิริ ศิริวรรณ. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชม ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ”. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิธร เดชารัตน์. (2560). ความคาดหวังประโยชน์ การเปิดรับ และทัศนคติ ที่มีต่อข้อมูลข่าวสารบนเฟซบุ๊กแฟนเพจด้านสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิวิมล นิจโกฏิยานนท์. (2560). ผลจากการเปิดรับชมรายการเรียลลิตี้ ที่มีต่อค่านิยมในการเข้าสู่วงการบันเทิงของวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เศรณี นาวงศ์ (2564). ความคาดหวัง การเปิดรับ และความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาษาต่างประเทศ
Klapper, J.T. (1960). The Effects of Mass Communication. New York : The Free Press.
Palmgreen, P., & Rayburn, J. D. (1982). Merging uses and gratifications and expectancy value theory. Communication Research, 11(4), 537-562.
SPRC. (2022). SPRC Star Petroleum Refining Public Company Limited Fanpage. Retrieved from https://web.facebook.com/SPRC-Star-Petroleum-Refining-Public-Company-Limited-101514738267212
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York: Harper and Row.