การสื่อสารภาวะวิกฤตผ่านสื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ภายใต้สถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID –19)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการสื่อสารภาวะวิกฤตผ่านสื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ภายใต้สถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID –19) ทำการศึกษาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปยังผู้โดยสารระหว่างการระบาดทั้ง 3 ระลอก ได้แก่ ช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2563 ช่วงเดือน มกราคม –กุมภาพันธ์ 2564 และช่วงเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2564 ผ่านสื่อเคลื่อนที่ อาทิ จอประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ และเสียงประกาศภายในขบวนรถ พร้อมศึกษาเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อสารกับผู้โดยสาร โดยนำแนวคิดการสื่อสารในภาวะวิกฤต แนวคิดสื่อเคลื่อนที่เพื่อการประชาสัมพันธ์ และการออกแบบสารเพื่อการประชาสัมพันธ์มาเป็นแนวทางการวิเคราะห์ การศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้วิธีวิจัยประเภทการสำรวจข้อมูลการวางแผนเผยแพร่การนำเสนอเนื้อหาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อภายในขบวนรถไฟฟ้าในแต่ละระลอกของการระบาด โดยศึกษาเนื้อหาจากเอกสารและการสื่อสารที่องค์กรได้รวบรวมไว้ในแต่ละช่วงและการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของรถไฟฟ้าบีทีเอส และเจ้าหน้าที่บริษัทที่ดูแลภาพลักษณ์ จำนวน 4 คน ผลการศึกษาพบว่าบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส นำหลักการปฏิบัติการแพร่ระบาดโรคชนิดอื่น เช่น โรคซาร์สและโรคไข้หวัดนกที่รถไฟฟ้าเคยเผชิญเหตุมาปรับประยุกต์ใช้ในการวางแผนสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ระลอกแรก ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID –19) ฝ่ายการสื่อสารองค์กรได้มีการติดตามข่าวสาร ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดที่ เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และได้มีการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุขในการเผยแพร่ความรู้การป้องกันโรคผ่านสื่อโปสเตอร์ และเสียงประกาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกกล่าว (Inform) ให้ผู้โดยสารทราบสาระสำคัญ เช่น ประชาสัมพันธ์เรื่องการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ และทางบริษัทฯ ได้มีการติดโปสเตอร์ภายในขบวนรถ และเสียงประกาศในขบวนรถเตือนผู้โดยสาร เพื่อนำมาวางแผนด้านการสื่อสารหากมีการแพร่ระบาดในกรุงเทพมหานคร ต่อไป ในช่วงขณะเกิดวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID –19) มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ฝ่ายสื่อสารองค์กร ได้นำมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดมาเผยแพร่ในขบวนรถไฟฟ้า เช่น การวัดอุณหภูมิไม่เกิน 37.5 องศา การสวมหน้ากากอนามัย 100% การนั่งเว้นที่ในขบวนรถไฟฟ้า เป็นต้น อีกทั้งยังมีวิดีโอในการส่งเสริมกำลังใจให้ผู้โดยสารสามารถฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน ในช่วงหลังเกิดวิกฤต การระบาดในประเทศไทยลดน้อยลง รัฐบาลได้มีการผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ หลังจากมีการออก พรก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมการเดินทางของประชาชน ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการปรับแนวทางการสื่อสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ โดยยังคงเน้นมาตรการในการป้องกัน เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ขณะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส และการสร้างภาพลักษณ์ และความมั่นใจในการโดยสาร โดยถ่ายทอดผ่านวิดีโอ ในเรื่องของการทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกขบวนรถ พร้อมทั้งยกเลิกการนั่งเว้นที่นั่ง และเลิกจัดกลุ่มผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพื่อลดความแออัดอีกด้วย ในช่วงโควิดระลอกที่ 2 และ 3 เนื้อหาและความถี่การประชาสัมพันธ์ ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ได้มีการเน้นย้ำมาตรการต่าง ๆ ผ่านสื่อวิดีโอ เช่น มาตรการต้อนรับเปิดเทอม สวมหน้ากากอนามัย วัดอุณหภูมิ ก่อนเข้าใช้บริการ และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ มีความถี่ในการเผยแพร่ 20 – 30 ครั้ง/วัน ความยาว 30 วินาทีสลับกับโฆษณาอื่น ๆ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอสมีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่แต่ละระลอกโดยมีการจัดทำสื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เพื่อให้ผู้โดยสารเข้าใจมาตรการต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด แต่สื่อในขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอสจะถูกแทรกด้วยวิดีโอโฆษณา ทำให้ผู้โดยสารบางส่วนอาจไม่ได้ทันได้เห็นการประชาสัมพันธ์ แต่ภายในรถไฟฟ้าบีทีเอส ยังมีสื่ออื่น ๆ สนับสนุน เช่น เสียงประกาศและโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ภายในขบวนรถ ทำให้ผู้โดยสารได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้ใช้บริการได้อย่างมั่นใจ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กรมการขนส่งทางราง.ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรายเดือนในระบบขนส่งทางราง ปี 2563 (2563).สืบค้นจาก https://www.drt.go.th/public-relations/pronouce64032202
คุณลักษณะของสื่อนอกอาคารสถานที่. รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ (2554). สืบค้นจาก http://free4marketingad.blogspot.com/2011/11/blog-.
ชนาภา หนูนาค (2560). การสื่อสารในภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ:21 เซ็นจูรี่.
ฐานเศรษฐกิจ. (2563). ข้อมูลผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีอส. “โควิด” ฉุดผู้โดยสารระบบราง-ขนส่งมวลชนทั้งระบบลดวูบ. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/property/478339
ณัฐศักดิ์ โสภาเจริญ. (2561).การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
ธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2561).การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
ธนัญญา ส่องแสงจินดา. (2541). จับโบตรอน สื่อโฆษณาเคลื่อนที่ยุคใหม่. (สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2562). คู่มือการสื่อสารในภาวะวิกฤตรถไฟฟ้า บีทีเอส. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป จำกัด (มหาชน).เปรียบเทียบผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ในปี 2563(2563).สืบค้นจาก https://www.btsgroup.co.th/th/update/news-event
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). Crisis Management คืออะไร ขั้นตอนการจัดการภาวะวิกฤต. สืบค้นจาก https://thaiwinner.com/crisis-management/พีณักตา เลิศสมิทวงศ์. (2548). BTS สื่อโฆษณาเคลื่อนที่ ผลผลิตใหม่จากการคมนาคม. (สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.
มติชนออนไลน์. (2564). กลุ่มผู้ค้าตลาดกลางกุ้งมหาชัยลุ้นเปิดตลาด เล็ง 26 ม.ค.นี้ ยึดมาตรการคุมเข้มโควิด. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/region/news_2539609
รุ่งนภา พิมมะศรี. (2563). โคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ อันตรายแค่ไหน เรากลัวมากไปหรือกำลังพอดี? สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/d-life/news-415774
วาทิต ประสมทรัพย์. (2562). เทคนิคการสื่อสารในภาวะวิกฤตสำหรับองค์กร. สืบค้นจาก https://taokaemai.com/%E0%B9%80%E0%B8% /
เวิร์คพอยท์ ทูเดย์. (2564). NYTimes ตีแผ่กรณีศึกษา เส้นสายเกี่ยวกับโควิดในไทย ทำระบาดหนัก. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/nytimes-covid-outbreak-thailand/วิรัช ลภิรัตนกุล.(2549) การประชาสัมพันธ์ ฉบับสมบูรณ์ (ปรับปรุงเพิ่มเติมใหม่) .(พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาวิน โมสูงเนิน. (2553). การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะภาษาและการสื่อสาร.
สมิทธ์ บุญชุติมา. (2560). การสื่อสารในภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ:21 เซ็นจูรี่.
สำราญ แสงเดือนฉาย. (2563). การออกแบบสารในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ MESSAGE DESIGN IN NEW NORMAL. สืบค้นจาก https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/Comm Arts-Article
สุเมธ องกิตติกุล. (2563). เตรียมความพร้อมระบบขนส่งสาธารณะไทย ในสถานการณ์โควิด-19. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/05/making-public-transport-safe-from-covid-19/
สุรพงษ์ เลาหะอัญญา. (2563). บีทีเอสกับสถานการณ์โควิด-19. สืบค้นจาก https://www. bangkokbiznews.com/news/detail/914452
อดิศักดิ์ ทนันไชย. (2562). การวางแผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในสถานการณ์การแผ่ระบาดของโรคโควิด-19 ขอการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝฟ.). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
อภิสิทธิ์ เหมาะสมสกุล. (2547). การสื่อสารภาวะวิกฤต : กรณีศึกษาเปรียบเทียบโรคซาร์ส และโรคไข้หวัดนกของ กระทรวงสาธารณสุข. (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
องค์การอนามัยโลก. (2563). โรคโควิดคืออะไร. สืบค้นจาก https://www.who.int/thailand/ emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports
อรนุช รุจิราวรรณ.(2563). VGI “เป็นมากกว่าสื่อรถไฟฟ้า! ผสานแพลตฟอร์ม “สื่อโฆษณา-RABBIT-KERRY” เข้าถึงคนทั่วประเทศ.สืบค้นจาก HTTPS://RABBIT.CO.TH/RABBIT-WORLD/VGI