“ความมั่นคงทางอาหาร” กับการสื่อสารที่ยังขาดความมั่นคง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความหมาย ความรู้ความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหารในมิติต่างๆ ตลอดจนศึกษาแนวทางในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอาหาร ผ่านการศึกษาจากเอกสารงานวิจัย ตำราที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของคำว่า “ความมั่นคงทางอาหาร” ได้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของโลก สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงดังนี้ 1) ทศวรรษที่ 1970 ความมั่นคงทางอาหารกับกระบวนการผลิต ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตอาหารเพื่อให้เพียงพอกับผู้บริโภค 2) ทศวรรษที่ 1980 ความมั่นคงทางอาหารกับการเข้าถึงอาหาร ขยายขอบเขตถึงการเข้าถึงอาหารจากระดับมหภาคสู่ระดับปัจเจกบุคคล 3) ทศวรรษ 1990 ความมั่นคงอาหารกับความปลอดภัยทางอาหาร ในทศวรรษนี้ความมั่นคงทางอาหารยังครอบคลุมไปถึงเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ ความปลอดภัย และความสมดุลทางอาหาร
ในปัจจุบัน “ความมั่นคงทางอาหาร”ตามที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization-FAO) ให้ความหมายนั้น ต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ 1) การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) 2) การเข้าถึงอาหาร (Food Access) 3) การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) และ 4) การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability) ซึ่งหากใช้เกณฑ์วัดความมั่นคงทางอาหารด้วยองค์ประกอบทั้ง 4 อาจจะไม่สามารถสรุปสถานการณ์ในประเทศไทยว่ามีความมั่นคงหรือไม่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น สภาวะสิ่งแวดล้อม ความไม่สมดุลระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
การทบทวนวรรณกรรมยังพบว่า งานศึกษาเรื่องความมั่นคงทางอาหารนั้นมีหลากหลายสาขา เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ การปกครอง เศรษฐศาสตร์ และการจัดการสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เน้นศึกษาภาคผู้ผลิต และผู้บริโภค แต่ขาดมิติการสื่อสารในการสร้างความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร
คำสำคัญ : ความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาการความมั่นคงทางอาหาร การสื่อสารความมั่นคงอาหาร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ.(2552). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. ภาพพิมพ์.
กรุงเทพธุรกิจ. (2565, 7 ตุลาคม). ‘ความมั่นคงอาหาร’ ไทยรูด 13 อันดับ สัญญาณเตือนอันตราย ‘ประชานิยมเกษตรกร’. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1031036
เกศสุดา สิทธิสันติกุล ขนิษฐา เสถียรพีระกุล และปัญจรัตน์ โจลานันท์.(2561). แนวทางการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมการเกษตร, 35(3), 64-73.
จอมขวัญ ชุมชาติ.(2558).ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนโคกพยอม ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์.
คณน ไตรจันทร์ ธีรศักดิ์ จินดาบถ และอนุวัต สงสม. (2560). องค์ประกอบความมั่งคงอาหารระดับครัวเรือนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Kasetsart Journal of Social Science. 38(2017), 577-587.
ชาติชาย มุกสง.( 2565). ปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสแต่งชาติ อาหารการกินในสังคมไทยหลัง 2575. สำนักพิมพ์มติชน.
ชาญณรงค์ ดวงสอาด.(2553).การปฏิวัติเขียว แมลงศัตรูพืช และการควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีชีวภาพ.วารสารเกษตร. 26(3), 269-278.
ปางอุบล อำนวยสิทธิ์. (2562, 22 กุมภาพันธ์). Food Security: วิกฤตความมั่นคงทางอาหารท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19. https://www.scbeic.com/th/detail/product/7400
เปลี่ยน ภาสกรวงศ์.(2564). แม่ครัวหัวป่าก์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). สถาพรบุ๊คส์.
รณิดา ปิงเมือง มาลี หมวกกุล วาสนา เสภา และธงชัย ลาหุนะ.(2560). ความหลากหลายทางชีวภาพสู่ความมั่นคงทางอาหารของชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำโขง : กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย.วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 10(2), 25-45.
วงธรรม สระณะ นักรบ เถียรอ่ำ ชูวงษ์ อุบาลี และจุตินันท์ ขวัญเนตร.(2563). ความหลากหลายทางชีวภาพเชิงพื้นที่ที่มีผลต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ของจังหวัดจันทบุรี.วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 3(3), 342-357.
วสวัตติ์ มานู.(2560).ความมั่นคงทางอาหารและปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหารของประชาชน ตำบลนามะตูม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์.(2555).แนวคิดและคำนิยามของความมั่นคงทางอาหาร. http://www.polsci.tu.ac.th/direk/browse.aspx?browseSub1=1022&browseSub2=3201
วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์.(2558).ความมั่นคงทางอาหาร: จากการพัฒนาการเกษตรสู่เศรษฐกิจพอเพียง.วารสารการเมืองการปกครอง. 5(2), 144-160.
ศจินทร์ ประชาสันติ์.(2552).การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร.รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ (สช.).
สรินทิพย์ นรินทร์ศิลป์. (2555, 25 กันยายน).สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในอาเซียน และประเทศสมาชิกต่างๆ. http://www.polsci.tu.ac.th/direk/browse.aspx?browseSub1=1022& browseSub2=3201
สิรินทิพย์ นรินทร์ศิลป์.(2561). แนวคิดอธิปไตยทางอาหาร: ข้อถกเถียงเชิงวิพากษ์กับแนวคิดทางด้านอาหารอื่นๆ.วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 10(3), 251-280.
สุพรรณี ไชยอำพร. (2560). ความมั่นคงทางอาหาร: สิ่งบ่งชี้ต่างวัฒธรรมในสังคมไทย.วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 57(1), 200-223.
อรสา จงวรกุล.(2549). ระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิชาติ ชมภูนุช โสภณ แท่งเพ็ชร์ อนุศักดิ์ จันทฉายา ทองคำ พรหมเย็น และศักดิ์ คำต๊ะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วมในระบบเกษตรชลประทานภาคเหนือเพื่อความมั่นคงอาหารของชุมชน.รายงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
อาสา คำภา. (2565). รสไทย(ไม่)แท้ : ถอดรูปทิพย์อาหารไทยในสนามการเมืองวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์มติชน.
เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2556).การพัฒนาระบบองค์ความรู้ด้านฐานข้อมูลทรัพยากรอาหารของชุมชนในภาวะเปราะบางเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงอาหาร. รายงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
ภาษาอังกฤษ
Food and Agricultural Organization of the United Nations. (1996, November 13). Rome Declaration on World Food Security and World Food Summit Plan of Action. World Food Summit. https://www.fao.org/3/w3613e/w3613e00.htm/
Food and Agricultural Organization of the United Nations. (2006, June). Policy Brief, Food Security. http://www. fao.org/forestry/13128-0e6f36f27e0091055bec28ebe830f46b3