ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทย กับความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางการเงินของผู้บริโภค

Main Article Content

ณัฐรดา ศรีไพโรจน์
โมไนยพล รณเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงิน และความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางการเงินของผู้บริโภค เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินของผู้บริโภค และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยกับความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางการเงินของผู้บริโภค การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเคยเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินภายในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 300 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่าโดยเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินระดับปานกลาง สื่อออนไลน์ที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสูงที่สุด คือ Facebook รองลงมา คือ Website, Line official, Instagram, YouTube, Twitter และ TikTok ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินต่ำกว่า 5 นาทีต่อครั้ง นอกจากนี้ ยังพบว่า โดยเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางการเงินในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบภัยทางการเงินที่กลุ่มตัวอย่างตระหนักสูงที่สุด คือ กลโกงหลอกล่อเหยื่อให้หลงเชื่อ รองลงมา คือ กลโกงออนไลน์อื่น ๆ กลโกงทางโทรศัพท์ กลโกงธุรกิจการเงินนอกระบบ กลโกงธนาคารออนไลน์ และกลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และรายได้ส่วนตัวต่อเดือนที่แตกต่างกัน จะมีการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางเงินในรูปแบบกลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และกลโกงธนาคารออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญ


คำสำคัญ : การจัดการการสื่อสาร / การเปิดรับสื่อ / สื่อออนไลน์ / ภัยทางการเงิน / ธนาคารแห่งประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). ดีอีเอส เปิดตัวเลขคดีออนไลน์เดือน ส.ค. เสียหายกว่า 3 พันล้าน.https://www.mdes.go.th/news/detail/5950

ชวลิต ฉัตรชัยอนันต์. (2552). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ของบุคลากรมหาวิทยาลัยกรุงเทพ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

โซเชียลนิวส์. (2566). เปิดสถิติแจ้งความออนไลน์ พบคดีหลอกลวงซื้อขายสินค้ามากที่สุด ตั้งแต่ 1 มี.ค. 65. https://www.mcot.net/view.6NUaUBnl

ทีมพัฒนาและวิเคราะห์ข้อมูล ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน. (2565). Financial Fraud: กลโกงทางการเงินใกล้ตัวกว่าที่คิด. Bi-Monthly PAYMENT INSIGHT (14), 1-3. https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/Publication/payment_insight/Documents/Bi-monthly_report_Vol14-2022_April.pdf

ไทยพีบีเอส. (2566). มีผลแล้ว พ.ร.ก.ป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์. https://www.thaipbs.or.th/ news/content/325650

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). “รู้ก่อนถูกหลอก” เตือนภัยการเงินออนไลน์. http://www.thairath.co.th/ business/feature/2209671

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ธปท.กับการช่วยเหลือประชาชนเพื่อรับมือภัยทางการเงินอย่างครบวงจร. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/reports/annual-report/ AnnualReport2022_box9.html

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ภัยทางการเงิน กับดักร้ายที่ต้องช่วยกันหยุดยั้ง. BOT พระสยาม MAGAZINE (3), 40-41.

https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256503101 TheKnowledge_FinancialTheft.aspx

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). ภัยทางการเงิน. https://www.bot.or.th/th/satang-story/ fraud

ธรณัส ธัญปราณีตกุล. (2563). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ภาพลักษณ์ และความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เดชา วัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงาน: มุมมองระหว่างเจอเจอเรชั่นต่าง ๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 31(121), 3-4.

นัฐพงศ์ ยาวิละ. (2564). การศึกษาการเปิดรับข่าวสารผ่าน Social Media ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครต่อมาตรการในการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรพรรณ บัวทอง. (2565). “มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์” ภัยสังคม ณ วันนี้. https://dusitpoll.dusit.ac.th/UPLOAD_FILES/POLL/2565/PS-2565-1645925079.pdf

พิชามญชุ์ ธีระพันธ์. (2559). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้งานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์-Promptpay” [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร. (2566). ธปท.ออกมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน. https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20230309.html

สภาองค์กรของผู้บริโภค. (2565). วาระแห่งชาติ : เอสเอ็มเอสหลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทำผู้บริโภคสูญกว่าพันล้านบาท. https://www.tcc.or.th/01042565_article-sms/

สุธาเทพ รุณเรศ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2561) พฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเจ็นเนอเรชั่น เอ็กซ์ และเจ็นเนอเรชั่น วาย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 60.

อัฐภิญญา ปัทมภาสสกุล. (2560). ปัจจัยความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาพ รูปลักษณ์ภายนอก ความรู้เรื่องนิเวศวิทยา และอิทธิพลระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อทัศนคติ และความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางธรรมชาติของสตรีในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อาริยา สุขโต. (2565). ภัยอาชญากรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ https://library.parliament.go.th/index.php/th/radioscript/rr2565-jul7

Sarun.roj. (2565). รวมสถิติข้อมูลของ Tiktok ประจำปี 2022. https://www.thumbsup.in.th/tiktok-statistics-2022