ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”

Main Article Content

นีรนารา สุขลังการ
โมไนยพล รณเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภค 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภค 3.) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากร กับ ทัศนคติที่มีต่อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภค 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับ พฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภคโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือผู้บริโภคอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ที่เคยซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ขนาดตัวอย่าง 400 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร ผลการวิจัย พบว่า โดยเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อสลากดิจิทัล โดยมีทัศนคติเชิงบวกกับสลากดิจิทัลในด้านราคาสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภค พบว่า โดยกลุ่มตัวอย่างซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ค่าเฉลี่ยสูงสุด 6.42 ใบต่องวด


ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านผลิตภัณฑ์และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ พบว่า ผู้บริโภคที่มีรายได้ส่วนตัวแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านราคาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผู้บริโภคที่มีรายได้ส่วนตัวแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ยังพบว่า ทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” อย่างมีนัยสำคัญ แต่ขนาดความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” อย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไทยพับลิก้า. (2565). สลากดิจิทัล หมดเกลี้ยง! คอหวยแห่ซื้อ 5 วัน 5,173,500 ใบ. https://thaipublica. org/2022/06/digital-lottery-06-06-2565/

ปพิชญา ศรีวัฒนา. (2562). การเปิดรับ ทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาด และแนวโน้ม พฤติกรรมการซื้อสินค้าทาง E-Commerce ของ Generation X [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงศกร สงวนศักดิ์. (2565). สังคมเสี่ยงในยุคหวยออนไลน์. https://www.bangkokbiznews.com/ columnist/1004684

พัชรพร คำใส. (2565). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านค้าของผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนตรี รัศมี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อทางการตลาด ทัศนคติ และ พฤติกรรมการซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมธ์วดี วิทยานุกรณ์. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อและทัศนคติต่อการจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

วสันต์ เจนร่วมจิต. (2561). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มเจนเนอเรชั่น b, x และ y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(1), 104-122.

ศริศา บุญประเสริฐ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สวรรยา มงคลวรเดช. (2563). ความสำคัญของหวยต่อเศรษฐกิจไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2417-2482 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรัชพร วิเชียรชิต. (2560). การเปิดรับ ทัศนคติ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในทรูช้อปปิ้ง [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. (2565). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ยุทธศาสตร์. https://www. glo.or.th/ about/vision.

Marketingoops. (2566). จับตาปี 2023 เข้าสู่ยุค “New World Disorder” เคราะห์ซ้ำกรรมซัดวิกฤตเศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม-เทคโนโลยี คนเชื่อมั่นต่ำสุดในรอบ 10 ปี. https://www.marketing oops.com/reports/ipsos-global-trends-2023/

Workpoint today. (2565). นายกฯ พอใจการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์. https://workpointtoday.com/pm-11/

ภาษาอังกฤษ

Willo, O.A., & Yates, M. P. (1980). Organization Communication Research: Time for Reflection. In D. Nimmo (Ed.), Communication Yearbook 4. Sage.