การเปิดรับยูทูบ ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของอินฟลูเอนเซอร์ และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค

Main Article Content

ศรัณยกร มณฑาเธียร
แอนนา จุมพลเสถียร

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับยูทูบ ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของอินฟลูเอนเซอร์ พฤติกรรมการซื้อและแนวโน้มพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค ซึ่งเป็นวิจัยเชิงปริมาณ รูปแบบวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เปิดรับการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์และมีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวน 300 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับชมการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์ทางยูทูบทั้งหมดโดยเฉลี่ย 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยเปิดรับมากที่สุดในช่วงเวลา 18.01-21.00 น.และรอบ 6 เดือนที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างรับชมการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์ทั้ง 10 ท่านในระดับปานกลางโดยมีการเปิดรับ Babyjingko (เบบี้จิงโกะ) มากที่สุด ในส่วนทัศนคติพบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์ทางยูทูบทั้ง 5 รูปแบบ โดยมีทัศนคติเชิงบวกมากที่สุดในประเด็นนำเสนอรูปแบบรีวิวผลิตภัณฑ์ ส่วนพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเกี่ยวกับผิวหน้าเฉลี่ย 2 ครั้ง/เดือน ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ซื้อ 1 ครั้ง/เดือนมากที่สุดในกลุ่มเครื่องสำอางบำรุงใบหน้า ด้านแนวโน้มพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจระดับมากในประเด็นตั้งใจที่จะซื้อเมื่อเห็นรีวิวมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับยูทูบโดยรวมมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์โดยความสัมพันธ์มีค่าเป็นบวก ทั้งนี้ความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.491***)ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์ในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (r = 0.081) ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์โดยรวมมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีค่าความสัมพันธ์เป็นบวก ทั้งนี้ ความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = 0.622***)โดยรูปแบบที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุด คือรูปแบบแกะกล่องของใหม่ (r = 0.648)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กาญจนา แก้วเทพและศิริชัย ศิริกายะ.(2531).ทฤษฎีสื่อสารมวลชน.คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). สื่อสารมวลชน:ทฤษฎีและแนวการศึกษา.ภาพพิมพ์.

ฉัตยาพร เสมอใจ และมัทนียา สมมิ. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภค.เอ็กซเปอร์เน็ท.

ชวรัตน์ เชิดชัย. (2527). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน. บพิธการพิมพ์.

ธงชัย สินติวงษ์. (2533). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ธีระพร อุวรรณโณ. (2535). เจตคติ: การศึกษาตามแนวทฤษฎีหลัก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมควร กวียะ. (2547). การสื่อสารมวลชน. สำนักพิมพ์โกสินทร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กัญญารินทร์ วัฒนเรืองนันท์. (2558). อิทธิพลของ Beauty Influencers ที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อ เครื่องสำอางของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงานตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต],มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กานติมา ฤทธิ์วีระเดช (2560). กลยุทธ์ผู้ทรงอิทธิพลไมโครอินฟลูเอนเซอร์ (Micro Influencer) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางออแกนิคผ่านสื่อออนไลน์ของเพศหญิงในกรุงเทพมหานคร.[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เจษฎา อธิพงศ์วณิช. (2563). ปัญหาและอุปสรรคการตลาดธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 7(2), 96-107.

ชัญญิษา สง่าดำ, วงศ์ธีรา สุวรรณิน และ ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ. (2563). การนำบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นผู้รับรองสินค้าผ่านอินสตาแกรมที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โชติหทัย นพวงศ์. (2542). การติดตามข่าวสารกับความพึงพอใจในการสื่อสารและการทำงานของพนักงานเครือซิเมนต์ไทยในช่วงการปรับโครงสร้างธุรกิจ.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดุษยา สุขวราภิรมย์.(2565). อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ในสื่อโซเชียลมีเดีย Youtube Facebook และ Instagram ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ในปัจจุบัน ของกลุ่มคน ที่อายุ 20 - 55 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดุษฤฎี แซ่แต้ และ จันทนา แสนสุข (2564). การสื่อสารการตลาดโดยผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภายใต้การยอมรับเทคโนโลยีของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 45-63.

นาถณดา ชัชวาลกิจกุล. (2554). ปัจจัยด้านการอกแบบเอกลักษณ์หน้าร้าน ประเภทร้านค้าเดี่ยว (Stand Alone Ahop) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจร้านขายเครื่องสำอางนำเข้าจาก ประเทศเกาหลี. [การค้นคว้าอิสระ], มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นัยนา พันธสำราญสุข และสุดาพร กุณฑลบุตร (2564). พฤติกรรมในการใช้เครื่องสำอางแบรนด์ต่างประเทศที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดของคนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(2), 71-81.

พนิดา มนตรีและวรพจน์ ปานรอด. (2564). ความตั้งใจรับชมถ่ายทอดสดกีฬาชนวัวออนไลน์แบบไลฟ์สตรีมมิ่ง. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 9(2), 63-72.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร. 31(4) : 99-103.

ฤติมา ดิลกตระกูลชัย (2559).การนำเสนอเนื้อหาความงามและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผ่านเครือข่ายสังคม ออนไลน์โดยบิวตี้บล็อกเกอร์ (Beauty Blogger).[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ความหมายของเครื่องสำอาง.(มปป.) http://www.skinbiotechthai.com

สุนัดดา โยมญาติ (2 ตุลาคม 2560).เครื่องสำอาง สวยอย่างปลอดภัย.จาก https://biology.ipst.ac.th/?p=3446

สันทัด โพธิสา.( 7 กุมภาพันธ์ 2566). เผยตัวเลขคนไทยแต่ละเจเนอเรชัน ตัวแปรสำคัญเลือกตั้ง 2566.จาก https://www.thaipbs.or.th/now/content/61

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. ชื่อวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอาง. จาก http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/frontend/theme_4/view_ information.php?Submit=Clear&ID_Inf_Nw_Manager=00000006500.

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86ก วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2558. จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ nla2557/ law86-080958-5.pdf.

ANGA. (17 มกราคม 2566). อัปเดตปี 2023 อันดับ INFLUENCERS ทุกหมวดหมู่ในประเทศไทย.จาก https://anga.co.th/marketing/top-influencers-in-thailand-2023

Brand Buffet.( 9 มกราคม 2566). อัพเดท 6 Generations ในสังคมไทย มีพฤติกรรมอย่างไร.จาก https://www.brandbuffet.in.th/2023/01/mi-group-report-6-generations-of-consumer-behaviour-in-2023/

Eric P. (16 พฤษภาคม 2565). สถิติ Influencer Marketing บน YouTube ที่นักการตลาดต้องรู้.จาก https://www.motiveinfluence.com/blog/marketing

Youtube. (27 กรกฎาคม 2563). Youtube คืออะไร ยูทูบคือเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี.จาก https://www.mindphp.com

ภาษาอังกฤษ

Atkin, C. K. (1973). Anticipated communication and mass media informationseeking public opinion quarterly New York: Free Press.

Becker, S. L. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.

Burgoon, Micheal. (1974). Approaching Speech/Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston. Inc.

Klapper, J.T. (1960). The Effects of Mass Communication Free Press. New York: Prentice Hall.

McCombs, M.E., & Becker, L.B. (1979). Using mass communication theory. Englewood Cliff, New Jersey: Prentice Hall.

Schramm, W. (1973).Channels and Audiences. In Handbook of communication. Chicago: Rand Mcnally College Publishing.