การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม และแนวโน้มพฤติกรรมต่อการตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ของ นิตยสารออนไลน์ The Cloud

Main Article Content

วรณัณ โชควารีพร
แอนนา จุมพลเสถียร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของนิตยสารออนไลน์ The Cloud จำนวน 280 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อกิจกรรมที่จัดโดยนิตยสารออนไลน์ The Cloud ต่อประเด็น การจัดกิจกรรมช่วยในการสร้างบันดาลใจในการใช้ชีวิตในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ พฤติกรรมการเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของนิตยสารออนไลน์The Cloud พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรม เพราะ การให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณสมบัติ และการบริการของแบรนด์ ทั้งนี้ จากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทัศนคติที่มีต่อกิจกรรมที่จัดโดยนิตยสารออนไลน์ The Cloud มีความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มพฤติกรรมการเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของนิตยสารออนไลน์ The Cloud อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก (r=0.606) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติด้านภาพลักษณ์กิจกรรมทางบวก (r=0.554) และด้านองค์ประกอบการดำเนินการตลาดเชิงกิจกรรมทางบวก (r=0.534) จะมีแนวโน้มพฤติกรรมการเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของนิตยสารออนไลน์ The Cloud ในอนาคตตั้งใจมาก เช่น ความตั้งใจที่จะแนะนำกิจกรรมแก่ผู้อื่น ความตั้งใจติดตามข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรม และความตั้งใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กรุงเทพธุรกิจ. (2559). ถึงเวลาเปลี่ยนผ่านวงการนิตยสารไทย. https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/686133

เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. (2551). กิจกรรมพิเศษ (Event Marketing). สำนักพิมพ์มติชน.

ขวัญชีวา ส่างหลวง. (2552). การเปิดรับข่าวสารการตลาดและข่าวสารเชิงรณรงค์เกี่ยวกับสุรา กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคสุราของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณิตาภา แสงทอง. (2556). การเปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และ เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีระพร อุวรรณโณ. (2535). จิตวิทยาสังคม. ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชาชาติธุรกิจ. (2566). Gen Z ในไทย 36% นิยมซื้อผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ผลวิจัย มินเทลเผย. https://www.prachachat.net/d-life/news-1211909

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2537). การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Ad Addict TH. (2020). การตลาดแบบ Sponsorship Marketing วิธีการสื่อสารอันทรงพลังแห่งยุคที่คนทำแบรนด์ ต้องรู้!. https://adaddictth.com/knowledge/Sponsorship-Marketing

Brand Buffet. (2019). 7 อินไซต์ เข้าใจ GEN Z พร้อมกลยุทธ์เจาะกระเป๋ากลุ่มกำลังซื้อใหม่ ที่แค่เร็วไม่พอ นาทีนี้ต้อง “ด่วน” เท่านั้น. https://www.brandbuffet.in.th/2019/05/7-insights-gen-z-for-marketing/

Brand Buffet. (2019). ปรับตัวให้รอดอย่างไร! เมื่อวงการสื่อมี 2 ทางเดิน ในยุค Digital Disruption “ไม่ปังก็พัง”. https://www.brandbuffet.in.th/2019/12/nitade-chula-seminar-digital-disruption-and-impacts-on-media-industry/

The Matter. (2018). The Cloud: ความเร็วไม่ใช่คำตอบเดียวของสื่อออนไลน์. https://thematter.co/social/talk-with-the-cloud/46039

WorkpointTODAY. (2563). เส้นทางนิตยสารไทยจาก ‘วันวาน’ สู่ ‘การเปลี่ยนผ่าน’ ในยุคดิจิทัล. https://workpointtoday.com/thai-magazine-timeline/

ภาษาอังกฤษ

Ajzen. & Fishbein, M. (1977). Attitude-behavior: a theoretical analysis and review of Empirical Research. Psychological Bulletin. 84: 888-918.

Hunt, T., & Ruben, B. D. (1993). Mass Communication: Producer and Consumers. Harper College.

McQuail, D. (2000). McQuail’s mass communication theory (4th ed). Sage.

Schramm, W. (1973). Men, Messages, and Media: A Look at Human Communication. Harper & Row.

Triandis, H. C. (1971). Attitude and attitude change. In D. Katz (Series Ed.), Wiley foundations of social psychology series, (pp. 60-101). Canada: John Wiley & Sons.

Zimbardo, Philip G., Ebberson B., & Maslach, Christina. (1977). Influencing Attitude and Changing Behavior. London: Addison Wesley Publishing